ปลุกพลังแห่งผู้นำ

ความอ่อนน้อมถ่อมตน มาตีความใหม่ครับ ไม่ใช่การทำแบบนี้

Rating:

         แน่นอนว่าความ “อ่อนน้อมถ่อมตน” คือ ความเจียมตน ความไม่ถือตัว ไม่อวดดี ไม่ถือดี ไม่ดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น พร้อมรับฟังผู้อื่น  เป็นสิ่งที่คนทุกคนควรมีไว้ หรือประพฤติไว้ประจำตัว  ความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นคุณสมบัติที่ผู้นำ และทุกคนควรจะมี หากมีแล้วจะเป็นที่รักใครต่อผู้อื่น มีแต่คนคอยช่วยเหลือ  แต่! เดี๋ยวก่อน  แต่หากคุณมีความอ่อนน้อมถ่อมตนที่มากจนเกินไป ก็ไม่ใช่เรื่องดีสำหรับคุณน่ะ ความสุขคุณอาจจะไม่มีเลย มีแต่คนที่ได้รับความอ่อนน้อมถ่อมตนที่มากเกินไปจากคุณนั่นแหล่ะที่มีความสุข  และคุณอาจจะไม่มีเวลาให้ตนเองเลยก็ได้ หากคุณอ่อนน้อม และคอยช่วยเหลือเขาไปเสียหมด

 

อย่าเพิ่งเข้าใจผิดน่ะครับ  ผมไม่ได้สอนให้คุณเห็นแก่ตัว หรือไม่อ่อนน้อมถ่อมตน หรือแข็งกระด้าง  ที่ผมแนะนำคือ ผมต้องการให้คุณถือหลัก ทางสายกลางคือ ไม่ควรที่จะอ่อนน้อมถ่อมตนมากจนเกินไป และเดือดร้อนตนเอง  ความอ่อนน้อมถ่อมตนที่มากจนเกินไป จะทำให้งานของคุณไม่ก้าวหน้า  ก้าวสู่ผู้นำไม่ได้ แต่อีกนั่นแหล่ะครับ คุณแน่ใจได้อย่างไรว่า การอ่อนน้อมถ่อมตนที่มากจนเกินไป จะทำให้ผู้อื่นรักคุณ ชอบคุณ อย่างเต็มใจ

             ฉะนั้นในวันนี้ ผมจะมาบอกถึง ลักษณะพฤติกรรม ที่ไม่ใช่ความอ่อนน้อมถ่อมตน ที่คุณควรจะหลีกเลี่ยง หรือหากคุณกำลังทำอยู่ก็ให้ควรปรับปรุง ปรับตัวเอง สู่โหมดที่ถูกต้องของความอ่อนน้อมถ่อมตน ตีความเสียใหม่ จะได้ไม่หลงผิดอันนำมาซึ่งความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ธุรกิจ หรือด้านอื่นๆ ในชีวิต โดยเฉพาะครอบครัวของคุณเอง เรามาเร่ิมกันเลย

  1. ความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ใช่  การขอโทษไ และหงอ ไปซ่ะหมดทุกเรื่องแม้คุณจะเป็นฝ่ายถูก

                 ขอโทษน่ะครับ  ขอโทษน่ะเธอ ฉันผิดเอง  เดี๋ยวก่อนน่ะ ก่อนที่คุณจะขอโทษใคร ขอให้คุณแน่ใจเสียก่อนว่า คุณเป็นคนผิด ไม่ใช่ให้ใครมาบอกว่าคุณผิด แล้วคุณก็ขอโทษไปทุกเรื่อง การที่จะเอ่ยคำว่า “ขอโทษ” กับใครสักคนหนึ่ง ขอให้คุณพิจารณา คิดเสียก่อนว่า คุณเป็นคนผิดจริง ผิดพลาดจริง แล้วจึงกล่าวคำขอโทษ  ไม่ใช่เมื่อคุณพิจาณาดูแล้ว คุณไม่ผิด แต่คุณก็ขอโทษให้หมดเรื่องไป ไม่ถูกต้องครับ สิ่งที่อยากให้คุณทำเมื่อคุณไม่ผิด คือ  “การชี้แจง” รายละเอียดว่าคุณไม่ผิด 

  2. ความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ใช่ การฟังและทำตามอย่างเดียว

                 เป็นกันเยอะมากครับ คนอื่นบอกอย่างไร รับฟัง และทำตามเท่านั้น โดยไม่ใช่ความคิดของตนวิเคราะห์เลย ว่าเหมาะสมหรือไม่ ไม่มีการชี้แจง แถลงไข อะไรทั้งนั้น  ขอเตือนสติน่ะครับ “คุณเป็นคนน่ะ ไม่ใช่หุ่นยนต์” ฉะนั้นขอให้คุณคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ด้วยว่า การทำตามนั้นถูกต้องหรือไม่ เป็นหน้าที่ของตนหรือไม่  ไม่ใช่ฟัง และทำตามทั้งๆที่รู้ว่า มันผิด ผิดกฎ ผิดระเบียบ ผิดกฎหมาย ผิดหลักการ ก็ยังทำ แบบนี้ไม่ใช่ความอ่อนน้อมถ่อมตนครับ มันคือ “การไม่มีความคิด” อาจจะฟังดูแรง แต่ต้องยอมรับว่ามันจริงครับ

  3. ความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ใช่ การยอมตามเขา ตามคนอื่นไปเสียหมด

                 เห็นกลุ่มเพื่อน กลุ่มตนเอง ทำอะไรก็ตามเขาไปเสียหมด ไม่มีความคิดเป็นของตนเอง เอาความคิดของผู้อื่นเป็นหลักในการครองชีวิต นี่ไม่ใช่เป็นความอ่อนน้อมถ่อมตนครับ เป็นการ ไม่มีความคิดเป็นของตนเอง ลักษณะเช่นนี้ อาจจะตีความว่า หากเพื่อนๆ หรือคนในกลุ่มทำอะไรแล้ว หากไม่ทำตาม ก็อาจจะเป็นการแสดงว่าคนนั้น ไม่เข้าร่วมกลุ่ม แปลกแยก อาจจะโดนบูลี่ อย่างนี้เป็นต้น  แต่ผมอยากจะแนะนำว่า หากคุณอยู่ในกลุ่ม ที่มีพฤติกรรมที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ แล้วคุณต้องทำตาม หากไม่ทำตาม ก็จะโดนลอยแพ หรือบูลี่  ก็ขอให้กลุ่มหากลุ่มใหม่ หรืออยู่คนเดียวเถอะครับ  หรือหากที่ทำงานเป็นแบบนี้ ก็ลาออกเถอะ หรือหากไม่อยากลาออกก็เปลี่ยนแผนก คุยกับหัวหน้าของคุณไปเลย เพราะหากคุณยังขืนอยู่ต่อ รังแต่จะมีแต่ความเดือดร้อนมาให้คุณ  ความก้าวหน้าในอาชีพคุณก็ไม่มี หรือหากมี ก็ต้องคอยทำตามผู้อื่นอยู่ร่ำไป แล้วชีวิตคุณจะมีความสุขหรือครับ คุณตอบเองน่ะ

และนี่คือ พฤติกรรมที่ผิด และถูกเข้าใจผิดว่าเป็นความอ่อนน้อมถ่อมตน ความจริงมีมากกว่านี้ครับ แต่ผมได้ลองดูรายละเอียดอื่นๆ แล้วก็คล้ายๆ กับพฤติกรรมที่ผมบอกใน 3 ข้อนี้  และต่อจากนี้เป็นหน้าที่ของคุณแล้ว ในการดูว่า คุณมีพฤติกรรมผิดๆ แบบนี้หรือเปล่า หากมีก็แก้ไขปรับปรุงเสียครับ  หากคุณจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ หรือก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งงานที่ต้องมีลูกน้อง คุณต้องแยกแยะ และตีความให้ออกว่า พฤติกรรมที่คุณทำอยู่นั้นเป็นความ อ่อนน้อมถ่อมตน หรือไม่ หากไม่ใช่ก็ปรับเปลี่ยนเถอะครับก่อนสายเกินไป

Tags: ,

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*