ปลุกพลังแห่งผู้นำ

เทคนิคการสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับหัวหน้างานได้ง่ายๆ

Rating:

“ความน่าเชื่อถือ” เป็นคุณสมบัติแทบจะมีความสำคัญกับหัวหน้างานในระดับต้นๆ เลยก็ได้ครับ หากคุณไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับคุณในฐานะหัวหน้างานได้ ลูกน้องก็ไม่ศรัทธาคุณ ประสานงานลำบาก งานของทีมงานก็ออกมาไม่มีประสิทธิภาพ เพราะลูกน้องคุณจะทำงานแค่เพียงผ่านๆ เท่านั้น แล้วเราจะเริ่มต้นสร้างความน่าเชื่อถืออย่างไรหล่ะ? คงเป็นคำถามของหัวหน้างานหลายๆ คนน่ะครับ แต่ไม่ต้องห่วง ผมจะมีแนวทางในการสร้างความน่าเชื่อถือเบื้องต้นให้กับคุณก่อน คุณสามารถนำไปใช้ได้โดยทันที  วิธีดังกล่าวไม่ได้จำกัดแค่เพียงหัวหน้างานเท่านั้น สำหรับผู้ที่ไม่ใช่หัวหน้างาน ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ ตราบใดที่ยังทำงาน หรือมีการติดต่อกับสิ่งที่เรียกว่า “คน” อยู่ 

 

 วิธีการเบื้องต้นในการสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับหัวหน้างาน ผมขอแนะนำเรียงลำดับ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

             1. ปรับตัวเองให้เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคนใจกว้าง ลูกน้องสามารถเข้าถึงได้
                 คุณจะไม่สามารถเริ่มต้นสร้างความน่าเชื่อถือได้ หากคุณไม่เริ่มด้วยการเป็นคนอ่อมน้อมถ่อมตน กล้ายอมรับความผิดกรณีที่คุณทำผิด และต้องขอบคุณให้เป็น ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร ลูกน้องคุณ ทีมงานคุณ คนที่อายุน้อยกว่าคุณ คนที่ตำแหน่งน้อยกว่าคุณ อย่าถือว่าคุณมีตำแหน่งเป็นหัวหน้างานแล้วขอบคุณใครแล้วกลัวเสียฟอร์ม ไม่ใช่เลย การขอบคุณให้เป็น ขอโทษให้ได้ เป็นคุณสมบัติที่แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนที่ชัดเจนที่สุด และง่ายที่สุด แต่หัวหน้างานไม่ค่อยทำกัน ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรเลย ลดการวางท่าวางทาง ลดอีโก้ลงบ้างครับ

             2. ตั้งใจฟังลูกน้องอย่างจริงใจ
                  เมื่อคุณได้สร้าง ความอ่อนน้อมถ่อมตน แล้วคุณต้องตั้งใจฟังลูกน้องอย่างจริงใจ ประตูห้องคุณ ต้องเปิดอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่ลูกน้องคุณจะสามารถมาปรึกษาคุณ ขอความคิดเห็นจากคุณได้ การตั้งใจฟังลูกน้องคุณต้องตั้งใจฟัง ไม่ใช่ว่ากดโทรศัพท์มือถือ ไถโทรศัพท์มือถือตลอดเวลาในขณะที่ลูกน้องคุณกำลังพูดกับคุณ การทำเช่นนี้เป็นเหมือนการไม่ให้เกียรติลูกน้องของคุณเลย ไม่ใช่เฉพาะลูกน้องของคุณ เป็นคนอื่นก็ไม่ชอบครับ.  คุณต้องเป็นนักฟังประเภท “นักฟังผู้สร้างสรรค์” ครับ ( สามารถไปอ่านในบทความของผมเรื่อง “คุณเป็นนักฟังแบบไหนกันแน่เนี่ย?” )

                3. จด Note สิ่งที่ลูกน้องพูด
                  การที่ลูกน้องคุณพูด หรือแม้กระทั่งใครก็ตามพูด แล้วคุณจดบันทึกไปด้วย เป็นการให้เกียรติผู้พูด เป็นการแสดงถึงการตั้งใจฟัง เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ และกำลังใจให้เกิดขึ้นกับผู้พูด  เนื่องจากการจดบันทึกข้อมูลจากการฟังสิ่งที่ลูกน้องพูด เป็นการเห็นถึงความสำคัญของเขาครับ ทำให้เกิดความศรัทธาในตัวหัวหน้างานให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของเขา อีกประการหนึ่งที่สำคัญเลย ก็คือ การจดโน้ต สามารถป้องการ การหลงลืมในแต่ล่ะประเด็นได้ เป็นการผลักภาระในการจดจำลงสมุดจด ไม่สร้างภาระให้กับสมองของคุณมากจนเกินไปนัก  คุณลองคิดดูซิครับ หากคุณจดโน้ต สิ่งที่ลูกน้องของคุณพูด ด้วยความตั้งใจ และเมื่อตอนท้าย เมื่อคุณหยิบยกเรื่องที่คุยกัน มาสรุปได้อย่างครบถ้วน ลูกน้องคุณจะรู้สึกอย่างไร  เขาก็จะเห็นว่า หัวหน้า ได้เห็นถึงความสำคัญของเขา เห็นถึงความสำคัญของสิ่งที่เขาพูด ความน่าเชื่อถือ ความศรัทธา จึงเกิดขึ้นกับหัวหน้างาน ได้อย่างง่ายดายครับ

                  4. ลองนำความคิดเห็นของลูกน้อง นำไปปฏิบัติ
                    หลังจากฟังด้วยความตั้งใจ > จดบันทึกส่ิงที่ลูกน้องพูด  ความน่าเชื่อถือก็เกิดขึ้นภายในของลูกน้องของคุณแล้ว  ยิ่งหากคุณไม่ละเลยที่จะนำความคิดเห็นของลูกน้องคุณ ลองนำไปปฏิบัติดู  ก็ยิ่งเป็นการสร้างความประทับใจ ความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับลูกน้องของคุณมากขึ้นไปอีก ลูกน้องคุณจะรู้สึกว่า ตัวเขานั้น มีคุณค่า มีประโยชน์กับองค์กร กับบริษัท เกิดกำลังใจในการทำงาน สุดท้ายหากคุณในฐานะหัวหน้างานได้ลองนำแนวคิดของลูกน้องคุณนำไปปฏิบัติแล้ว แต่ไม่ Work ลูกน้องคุณก็จะเข้าใจ และแสวงหาแนวทางที่ดีกว่านั้นมาเสนอคุณอีกอย่างไม่สิ้นสุดเลยทีเดียว  
                  ยังดีกว่าที่คุณเห็นแต่ความคิดของตัวเองเป็นหลัก และไม่เห็นความสำคัญของลูกน้องของคุณเลย คิดว่าไอเดียของคุณนั้นเจ๋งที่สุด ผมเตือนน่ะอย่าทำแบบนั้น เพราะความไว้วางใจ ความน่าเชื่อถือ กว่าคุณจะสร้างได้แทบตาย แต่เมื่อจะเสียความน่าเชื่อถือไป อาจจะสูญเสียไปได้ในเสี้ยววินาที  ฉะนั้นให้ความสำคัญกับแนบความคิดเห็นของลูกน้องของคุณให้มากๆ ครับ

              >> และนี่คือ เทคนิคการสร้างความน่าเชื่อถือเบื้องต้นให้กับหัวหน้างาน นำไปปรับใช้กันดูครับ ไม่ยากเลยครับเปิดใช้สักนิด แล้วคุณจะเห็นผลของมัน

 

 

Tags: , , ,

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*