ปลุกพลังบุคลิกภาพและการพูด

ข้อแนะนำของลูกน้องในการตอบคำถามเจ้านาย

ไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับไหน ตำแหน่งอะไร สูงส่งแค่ไหนก็ต้องมี ผู้บังคับบัญชา หรือที่นิยมเรียกกันว่า “เจ้านาย” กันทั้งนั้น ถูกไหมครับ ดังนั้นช่องว่างระหว่าง “ลูกน้อง” และ “เจ้านาย” ก็ต้องมีเป็นธรรมดา และช่องว่างนี่แหละครับที่่จะสร้าวความกดดันหลายๆ อย่าง แน่นอนครับ ไม่ว่าใครก็ต้องรู้สึก เกร็ง กลัว เกรงใจ หรือที่เรียกกันอะไรก็แล้วแต่ จะไม่ให้เกร็งได้ไงล่ะครับ ก็เจ้านาย ก็คือสิ่งที่ชี่้อนาคตเราดีๆ นี่เอง ไม่ว่าจะประเมิน และขึ้นเงินเดือนประจำปี เป็นต้น  และหนึ่งในปัญหาโลกแตกของ “ลูกน้อง” ก็คือ การที่เจ้านายเรียกคุณเข้าห้องเพื่อสอบถามอะไรบางสิ่ง นั่นแหละคือสิ่งที่น่ากลัวที่สุดเลยก็ว่าได้ครับ

Ask the Question

 

ก็้เราไม่รู้นี่ครับ ที่เขาเรียกเราไป เรียกด้วยเรื่องอะไร และเมื่อเข้าห้องแล้วก็เหมือนกับห้องเย็น พอเจ้านายถามมา ก็ตอบไม่ได้ซ่ะงั้นรู้สึกเกร็งไปหมด ในวันนี้ผมเข้าใจคนทำงาน ด้วยการบอกถึงขั้นตอน ในการรับมือกับการตอบคำถามของเจ้านายมาฝากครับ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ

 1. สะกดอารมณ์ความกลัวให้ได้ก่อน

ความกลัว ความตื่นเต้น ทุกอย่างเป็นบ่อเกิดแห่งความล้มเหลวครับ ยิ่งหากเจ้านายของคุณถามคำถามคุณ แล้วคุณตอบไม่ได้หรือ ตอบแบบกุกๆ กักๆ เขาจะมองว่าคุณไม่มีความมั่นใจ และผลที่ตามมาคือ เจ้านายของคุณจะไม่ค่อยไว้ใจคุณแล้ว และหากมีอารมณ์ความกลัวเข้ามา จะทำให้การตอบคำถามเราไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ ทำให้ขาดความมั่นใจ วิธีการง่ายๆ ในการสะกดอารณ์ ก็คือการพูดให้กำลังใจตนเอง “ฉันเป็นคนกล้าหาญ”  “ฉันกล้าหาญ” โดยอาจจะคิดให้กำลังใจว่า เจ้านายก็คน เราก็คน ทำไมต้องไปกลัวอะไรมากมาย ทำแบบนี้แล้วจะช่วยลดความกลัวในใจไปได้มาก การพูดให้กำลังใจตนเอง พิสูจน์แล้วว่า เป็นการปลุกพลังจิตใต้สำนึกที่ได้ผล  และหากเข้าไปพบเจ้านาย หรือคุยกับเจ้านายในห้องแล้ว เวลาคุยให้มองที่จมูกของเขา ก็จะลดความประหม่า และความเกร็งลงได้บ้าง เพราะไม่ได้เห็นหน้าเขาโดยตรง

 

        2. ฟังเจ้านายให้จบก่อน และค่อยพูด

เมื่อเจ้านายเรียกคุณเข้าพบแล้ว เจ้านายของคุณจะพูดคุย เกริ่นนำถึงเหตุผลที่เรียกคุณเข้าพบเพื่อถามคำถาม ให้คุณฟังเจ้านายของคุณพูดก่อน เมื่อเขาพูดจบแล้วคุณค่อยพูด ข้อควรระวังไม่ควรพูดแทรกขึ้นระหว่างที่เขา พูด โดยเด็ดขาด เพราะคุณจะขาดความน่าเชื่อถือ การแย้งหรือพูดแทรก เป็นการแสดงถึงการ “กินปูนร้อนท้อง” หรือเดือนร้อนไปก่อนซึ่งอาจจะกระทบต่อคุณในชีวิตการทำงานในระยะยาวได้ ฉะนั้น ฟังก่อน แล้วค่อยพูด

 

 3. เมื่อเจ้านายถามคำถามถึงเรื่องต่างๆ แล้วอาจจะมีบางเรื่องที่คุณไม่มีข้อมูล หรือมีแล้วแต่ไม่ชัวร์ ไม่ควรที่จะปากเร็วบอกไป

เคยไหมครับที่หัวหน้า หรือเจ้านายของคุณถามคุณมาแล้ว คุณไม่มีข้อมูล หรือข้อมูลไม่มากพอ และปากเร็วตอบหัวหน้าไปเช่นนั้น ในแบบที่ตนเองเข้าใจเอาเอง  หากคุณกำลังทำพฤติกรรมเช่นนี้อยู่กับหัวหน้าของคุณ ผมขอให้คุณเลิกเสีย  โดยต่อไปหากเจ้านายของคุณถามคุณแล้วตอบไม่ได้ ให้บอกเจ้านายของคุณด้วยประโยคเดียวคือ “ผมจะหาข้อมูลมาให้ครับ” ” เดี๋ยวผมขอตรวจสอบก่อนนะครับ ” เป็นต้น ซึ่งการตอบช้า ยังดีกว่าการตอบโดยไม่มีข้อมูล ตอบเท็จ และส่งผลเสียต่องานของเจ้านาย

 

4. ตอบคำถามเจ้านาย หากเป็นการปรึกษาปัญหาการทำงาน ให้คุณพูดแนวทางแก้ไขปัญหาด้วย ได้ใจเจ้านายแน่นอน

เมื่่อตอบคำถาเจ้านาย ควรเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาของตนเองด้วย เพื่อสร้างคะแนน หัวหน้างานไม่ชอบลูกน้องที่ทำงานเหมือนหุ่นยนต์ครับ ควรที่จะเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา และไม่ต้องกลัวอีกน่ะครับว่า หากเสนอแนวทางแล้ว หัวหน้าไม่มีมติว่าต้องทำการแก้ไขปัญหาตามที่คุณพูด จำไว้น่ะคับว่า วัตถุประสงค์ของการพูดแนวทางแก้ไขปัญหาไปด้วย ก็เพื่อให้เจ้านายของคุณเห็นคุณค่าของคุณ และที่สำคัญคือ มันเป็นการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับตนเองครับ

 

5. แน่นอนครับการที่เจ้านายตั้งคำถามคุณ แล้วอาจจะมีคำถาม และเรื่องราวอื่นๆ ที่คุณอาจจะไม่เห็นด้วย โกรธ ข้อนี้ผมขอบอกให้คุณรับรู้อารมณ์ของตนเอง ว่ามีอารมณ์เป็นแบบได และเก็บสีหน้า อาการ น้ำเสียง จำไว้น่ะคับว่า การแสดงออกซึ่งอารมณ์ด้านลบของตนเองให้ผู้บังคับบัญชาเห็นนั้นไม่ได้เกิดผลดีเลย เผลอเจ้านายจะจำคุณไปตลอดกาลเลย

 

หวังว่าวิธีการดังกล่าวจะเป็นประโยชนสำหรับทุกท่าน

 

 

Tags: , , , ,

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*