ปลุกพลังแห่งผู้นำ

ปวดหัวแท้! เจอลูกน้องเห็นแก่ตัว ทำยังไงดี?

Rating:

เป็นหัวหน้างาน ก็อย่างนี้แหล่ะครับต้องทำงาน บริหารลูกน้องหลายแบบ หลายสไตล์ หลายนิสัย หนึ่งในพฤติกรรมของลูกน้องที่น่าปวดหัวก็คือ “ลูกน้องเห็นแก่ตัว” นี่แหล่ะครับ  เช่น คิดแต่ผลประโยชน์เข้าตัวเอง ไม่คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม , เอาแต่ความดีความชอบ เลียแข้ง เลียขาเจ้านาย บางทีไปเลียแข้งเลียหาคนที่มีตำแหน่งสูงกว่า กล่าวร้ายเราสารพัด , ไม่ยอมรับความผิดของตนเอง ตัวเองถูกตลอด คนอื่นผิด ร้ายไปกว่านั้น ปัดความรับผิดชอบ เอาความผิดไปให้คนอื่นอีก  และ อื่นๆ อีกมากมายครับ

  การที่คุณมีลูกน้องที่เห็นแก่ตัวแบบสุด ๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ น่ะครับ อย่างน้อยก็ต้องกระทบกับความรู้สึกของคุณ และลูกน้องคนอื่นด้วย เพราะลูกน้องที่เห็นแก่ตัวจะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น ไม่สนคนอื่น ทำให้เพื่อนร่วมงาน ซึ่งหมายถึงพนักงานในทีมของคุณต้องอึดอัดใจ ทรมานใจ ใส่หน้ากากเข้าหาตลอดเวลา และนำมาซึ่งการออกของพนักงานที่ดีๆ ซึ่งคุณก็รับไม่ได้ใช่ไหม

ในทีมของผมก็มีพนักงานคนหนึ่งเช่นกัน ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนใดๆ เขาจะเก็บเงินนั้นไว้เอง โดยไม่คำนึงถึงว่า เงินหรือค่าตอบแทนที่ตนได้รับนั้น ตลอดเส้นทางที่กว่าจะได้รับเงินนั้น มีใครในทีมที่คอยช่วยเขา เห็นแก่ได้ และเก็บเงินนั้นไว้เอง โดยไม่แบ่งปันใคร ซึ่งผมไม่เถียงครับว่า ค่าตอบแทนนั้นมันโอนเข้า บัญชีของเขา แต่ด้วยความเห็นแก่ตัว เห็นยอดเงินแล้ว เกิดเห็นแก่ตัว และเก็บเงินนั้นไว้เอง โดยไม่แบ่งปันในทีมงานเลย ซึ่งหาก ทีมงานคนอื่นรู้ว่า เขาได้ค่าตอบแทน ก็อาจจะเคือง และไม่ช่วยเหลือเขาอีกต่อไป

จากตัวอย่างที่ยกมา เราจะมีวิธีการจัดการ และเตือนสติพนักงานในทีม ที่เห็นแก่ตัวอย่างไรดี วันนี้ผมมีวิธีการมาฝากครับ เรามาเริ่มกันเลย

1. พูดกับเขาตรงๆ ไปเลยว่า สิ่งที่พนักงานที่เห็นแก่ตัวได้รับนั้น ใครที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสำเร็จนี้

เช่น กรณีที่เขาได้รับค่าตอบแทน ซึ่งค่าตอบแทนนั้น มีทีมงานที่คอยช่วยเหลือเขาจนเขาได้รับเงิน ซึ่งเป็นเงินที่ไม่ได้เกิดจากการทำงานของเขาเพียงคนเดียว บอกเขาว่าเขาควรจะแบ่งปันกับทีมบ้าง เช่น พาไปทานข้าว ให้เงินกับทีมบ้าง เป็นต้น โดยเราจะมีการบอกเขาเพียงครั้งเดียวน่ะครับ ไม่ต้องย้ำเขาบ่อยๆ หากเขารู้ตัว ก็จะมีการทำตามที่เราแนะนำ แต่หากเขาไม่ทำ ก็แสดงว่า เขาเห็นแก่ตัวแบบสุดๆ ก็จะต้องมีการกำหนดแนวทางการจัดการ การทำงานกับพนักงานคนนี้ใหม่  เราในฐานะผู้นำต้องคิดในแง่บวกครับว่า เขาได้เผยนิสัยที่แท้จริงออกมาตอนนี้ ดีกว่า เพราะเราในฐานะผู้นำจะได้รู้พฤติกรรม และกำหนดแนวทางในการปกครอง การจัดการกับพนักงานคนดังกล่าวใหม่ครับ เพราะคนที่น่าสงสารที่สุดไม่ใช่เรา แต่เป็น พนักงานในทีมที่ทำงานด้วยครับ

2. กำหนดความชัดเจนในหน้าที่ความรับผิดชอบ ช่วยเหลือเขาตามหน้าที่ที่เขาได้รับ ไม่ควรสนับสนุน เอื้อเขามากเหมือนที่ผ่านมา

ไม่ได้ใจร้ายน่ะครับ  สังเกตุตัวเราครับ ที่ผ่านมาเรา และทีมงานได้ช่วยเหลือพนักงานคนนี้มากจนเกินไปหรือปล่าว  ยกตัวอย่างเช่น การทำงานของเขาไม่ได้ตามเป้าหมาย คุณก็ไม่ช่วยเขาด้วยความเป็นห่วง กลัวเขาถูกเลิกจ้าง ทั้งที่ไม่ใช่งานของคุณ พอมีปัญหามา คุณก็กระโดดเข้าไปช่วยเขาอยู่ร่ำไป แต่ในเมื่อเขาแสดงพฤติกรรมเห็นแก่ตัวออกมา โดยไม่ได้คิดคำนึงถึงคนที่คอยช่วยเหลือเขาจนสำเร็จแล้ว  ต่อจากนี้ไป คุณในฐานะผู้นำต้องชัดเจนในหน้าที่ และงานของเขา  ให้เขาแก้ไขปัญหาด้วยตัวเขาเอง ติดตามงานอย่างตรงไปตรงมา ตามหน้าที่ของหัวหน้างาน พูดง่ายๆ ก็คือ ความเป็นพี่น้อง ความเป็นกันเอง ที่คุณคอยช่วยเขาให้ลดลง เน้นความเป็นหัวหน้างานให้มากขึ้นนั่นเอง  และต้องมีการลงโทษ กล่าวตักเตือนหากเขาทำงานผิดพลาด และไม่ถึงเป้าหมายตามที่ได้วางไว้ด้วย

เมื่อคุณกำหนดความชัดเจนในการปฏิบัติเรื่องงาน กับพนักงานคนนี้แล้ว เขาจะเกิดความคิด และคิดถึง ความเห็นแก่ตัวที่เขาทำมา และเกิดจิตสำนึกว่า เขาไม่สามารถจะสำเร็จได้ด้วยเขาเพียงคนเดียวได้  แต่หากเขายังไม่สำนึก แสดงว่า เขาเป็นคนที่น่าสงสารน่ะครับ เพราะเขาจะไม่ได้พบกับความสุขที่แท้จริงเลย มุ่งแต่จะหาประโยชน์เข้าตัวเองตลอดเวลา เขาจะไม่ประสบพบกับความสำเร็จในหน้าที่การงานได้เลย

                คุณในฐานะผู้นำ หัวหน้างาน  ควรที่จะแสดงให้เขาเห็นว่า ในโลกทุกวันนี้ ตามความจริงของโลก “การรับ” ไม่สำคัญเลยเท่ากับ “การให้” ผลประโยชน์ใดที่ได้รับ ไม่สบายใจเท่ากับการเห็นถึงคนอื่นที่คอยช่วยเหลือ และทำงานร่วมกันกันตนด้วย

         3. พอเถอะ ! เลิกทำตัวเป็นพระเอก นางเอกได้แล้ว กับคนที่เห็นแก่ตัวไม่คุ้มครับ

               ที่หนักกว่านั้น หากคุณเจอลูกน้องที่ไม่ยอมรับความผิดพลาดของตนเอง ตนเองเป็นฝ่ายถูกตลอด ทั้งๆ ที่งานนั้น เป็นความผิดพลาดกันทั้ง 2 ฝ่าย แต่คนนี้ก็จะพยายามบอกว่า ตนไม่ผิด ตนถูก เพราะคนอื่นต่างหากที่ทำให้งานผิดพลาด อยู่ร่ำไป ยกคำแก้ตัว คำอธิบายสารพัด มาบอกว่า ตนไม่ผิด อยู่อย่างนั้น ซ้ำหากหนักกว่านั้น เขาอาจจะไปแก้ตัวบอกกับผู้บังคับบัญชา ที่มีระดับใหญ่กว่าคุณ ว่าเขาไม่ผิด คุณต่างหากที่ผิด เป็นต้น ซึ่งคนแบบนี้อันตรายมากเลยทีเดียวครับ

              เมื่อคุณเจอกับลูกน้องแบบนี้ คุณอย่ายอมเด็ดขาด ที่ผมบอกไม่ใช่ว่า “เขาร้ายมาแล้ว คุณก็จะแก้แค้นทำร้ายกลับ” น่ะครับ หากคุณทำแบบนั้นคุณก็ไม่ต่างอะไรไปจากเขา  ที่คุณต้องทำคือคุณต้องอธิบายเหตพล สาเหตุ ด้วยกริยา วาจาที่อ่อมน้อม ไม่ใช้อารมณ์ เพราะความจริงก็คือความจริง หากเขาไม่ฟัง หรือ ผู้บังคับบัญชาระดับสูงกว่าคุณไม่ฟัง ก็อย่าท้อแท้ ต้องอดทน  ใช้งาน ใช้เวลา เป็นเครื่องพิสูจน์ทุกอย่าง ทุ่มเทในการทำงาน การจัดการให้เต็มที่ ความจริงก็คือความจริง ไม่มีวันตายครับ สักวันความจริงก็เปิดเผย และทุกคนที่เห็นคุณทุ่มเททำงาน ด้วยความจริงใจ จะเป็นเกราะป้องกันตัวคุณเองจากลูกน้องที่เห็นแก่ตัวเอง เชื่อผมครับ อย่าไปแลกเลยมันไม่คุ้ม จิตของเรา การกระทำของเราต้องอยู่สูงกว่าเขา ครับ

 

         ลองทำวิธีดังกล่าวไปใช่ดูน่ะครับ จะสามารถช่วยคุณได้ไม่มากก็น้อย สุดท้ายตัวคุณในฐานะผู้นำนั่นแหละ ที่ต้องชัดเจน และควบคุมอารมณ์ สถานการณ์ให้ดี ย้ำอีกครั้ง อย่าเอาตัวคุณเข้าไปแลกครับ คุณต้องมีวุฒิภาวะสูงกว่าเขา เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์เอง

 

 

Tags: , ,

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*