การพัฒนาตนเอง / ปลุกพลังแห่งผู้นำ

วิธีเด็ด ในการแก้ปัญหา การผัดวันประกันพรุ่งอันเลวร้าย

Rating:

การผัดวัน ประกันพรุ่ง เป็นนิสัยอันสุดเลวร้ายสำหรับ ทุกคน ทุกคนต้องเคยทำนิสัยผัดวัน ประกันพรุ่งมาแล้วทั้งนั้นครับ เคยไหมครับว่าจะทำงานสำคัญชิ้นนี้ให้เสร็จ ตั้งใจเต็มที่ เตรียมอุปกรณ์ และข้อมูลเรียบร้อย สุดท้ายก็จะมีมารผจญเข้ามาทำให้สมองของคุณ ความตั้งใจของคุณไขว้เขว ไปเสียหมด รู้ตัวอึกที ก็ใกล้ถึงเส้นตายในการส่งงานแล้ว คุณเลยเครียด งานที่ออกมาก็ไม่ได้คุณภาพ โกรธ เหวี่ยงคนอื่นๆ ไปทั่ว ทั้งๆ ที่คุณเองนั่นแหละที่เป็นฝ่าย ทำนิสัย ผัดวันประกันพรุ่งจนงานเสียเอง

นิสัยผัดวันประกันพรุ่ง สังเกตุได้ง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่น คุณกำลังทำงานที่สำคัญอยู่ดี ก็มีเสียงเตือนของแอป Facebook เตือนขึ้นมา คนก็เอื้อมมือไปหยิบโทรศัพท์เพื่อดูข้อมูลโพสใน Facebook  เมื่อดูแล้วก็เกิดความต่อเนื่อง สนุก วางไม่ลง จนทำให้ไม่ได้ทำงาน รู้ตัวอีกทีเลิกงานแล้ว พอผู้บังคับบัญชาเร่งมา ว่างานเสร็จหรือยัง คุณก็อึ้ง เพราะงานไม่เสร็จ จนคุณต้องรีบปั่นงาน หามรุ่ง หามค่ำ งานที่ออกมาก็ไม่ได้คุณภาพ เพราะเกิดจากความรีบเร่งเกินไป ขาดการวิเคราะห์  คุณคงอาจจะโทษว่า ” เพราะ Facebook แท้ๆ ที่ทำให้งานของฉันไม่เสร็จตามกำหนด ทำให้งานฉันไม่ได้คุณภาพ ทำให้เจ้านายด่าฉัน ”    จริงๆ แล้วคุณเองต่างหากที่เป็น่ฝ่ายเลือกที่จะทำสิ่งอื่นๆ ที่ไม่สำคัญเองแท้ๆ

นิสัยการผัดวันประกันพรุ่ง จะเกิดขึ้นเนื่องจากมีสิ่งมารบกวน ชักจูงแล้ว ยังอาจจะเกิดจากเนื้องานเอง เช่น งานที่ต้องใช้ข้อมูล ความละเอียด และซับซ้อนค่อนข้างยาก  โดยอาจจะไปทำงานง่ายๆ ก่อน พอกลับมาทำงานที่ยากๆ ก็หมดเวลาแล้ว ทั้งๆที่งานที่ยากนั้น คุณก็สามารถทำได้ แต่คุณก็เลือกที่จะไปทำงานง่ายๆ ที่ไม่ได้มีความสำคัญมากมายนัก ด้วยสาเหตุเดียวคือ อยากทำงานง่ายๆ ก่อน แล้วจึงทำงานที่ยากขึ้น แต่สุดท้ายแล้ว พนันได้เลยครับ คุณก็ไม่ได้ทำ   น่ากลัวไหมครับนิสัยการผัดวันประกันพรุ่ง

บทความนี้ผมมีวิธีการเด็ดๆ ที่จะช่วยแก้ไขนิสัยผัดวันประกันพรุ่งที่เกิดขึ้นกับคุณได้ จากการศึกษาวิธีการต่างๆ จากหนังสือ การสัมมนา และลองใช้ด้วยตนเอง ผมพอจะสรุปวิธีการที่ได้ผล ได้ 2 วิธีดังนี้

1. พูดคำว่า ” ทำเดี๋ยวนี้ ” ซ้ำๆ วันละ 40 – 50 ครั้ง หรือพูดบ่อยตอนที่คุณกำลังทำงานสำคัญๆ อยู่

เป็นวิธีที่ผมใชัและได้ผลมากครับ  ผมจะพูดกับตัวเองในใจ โดยเฉพาะช่วงที่ต้องตัดสินใจทำงาน ผมจะพูดในใจ หรือพูดออกเสียงเบาๆ ว่า “ทำเดี๋ยวนี้” ผมว่าคำนี้ เป็นคำที่มหัศจรรย์น่ะ เพราะเมื่อเราพูดคำๆ นี้บ่อยทุกๆ วัน สมองจะจดจำคำนี้ไว้ในสมอง และจิตใต้สำนึก พอคุณได้รับมอบหมายงานสำคัญๆ จะมีคำว่า “ทำเดี๋ยวนี้” เข้ามาในหัวทันที แต่คุณต้องเริ่มฝึกด้วยการ พูดคำนี้ ทุกๆวันวันละ 40 – 50 ครั้ง โดยเฉพาะเวลาที่คุณตัดสินใจการทำงานสำคัญๆ ให้พูดคำว่า “ทำเดี๋ยวนี้” ดักทางไว้เลยครับ มันจะมีแรงกระตุ้นให้คุณทำมันทันที ด้วยความกระตือรือร้น อย่าลืมตอนที่พูดคำว่า “ทำเดี๋ยวนี้” ให้พูดด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่น ใส่อารมณ์ในเวลาพูดด้วย จะช่วยเรียกพลังแห่งความกระตือรือร้นได้เลยทีเดียวครับ

 2. กำหนดเส้นตายในงาน ด้วยตัวเองไปเลย

เคยสังเกตุเห็นนักเรียนไหมครับ ในช่วงปิดเทอมใหญ่ ที่หยุดหลายๆ วันคุณครูจะมอบหมายงาน การบ้านช่วงปิดเทอมให้ นักเรียนไปทำช่วงปิดเทอม และตอนเปิดเทอม จะต้องนำงานนั้นมาส่งคุณครู  แน่นอนว่าปิดเทอมใหญ่นั้น กินเวลาหยุดไปถึง 2 เดือน  ผมเคยน่ะ เวลา ปิดเทอมผมก็เลือกที่จะอ่านการ์ตูน ดูหนัง เที่ยวเล่น ไปวันๆ โดยคิดในใจว่า “กว่าจะส่งตั้งเปิดเทอมแหน่ะ ยังมีเวลาอีกหลายวันอยู่ ใกล้ๆ ค่อยทำก็ได้ สบายๆ ” แต่พอถึงช่วง 4 – 5 ก่อนเปิดเทอม คุณก็มาเร่งทำ และหวาดหวั่นว่าจะเสร็จทันหรือไม่ ทั้งๆ ที่คุณมีเวลาตั้งเกือบ 2 เดือนที่จะทำการบ้าน

จากเหตุการข้างบน  คุณๆ เคยใช่ไหมครับ และทราบไหมว่าเพราะอะไร เหตุที่เกิดการผัดวันประกันพรุ่งในเรื่องราวดังกล่าวเนื่องมาจากว่า ” มีช่วงกำหนดการส่งงานที่อยู่ห่างเกินไป ”  จึงมีเวลาที่สมองจะคิดเอาสบายไว้ก่อน จึงไม่เกิดการกระตือรือร้นที่จะทำไงครับ อย่าลืมน่ะครับว่า สมองของมนุษย์เราเนี่ย ชอบความสบาย รักความสบาย เพราะเป็นสัญชาติญาณป้องกันตนเอง สิ่งไหนที่ทำแล้วหนักหัว หนักสมอง  สมองจะสั่งทางเลือกมาให้เลิกทำทันที ฉะนั้นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต สามารถที่จะฝืนคำสั่งสมอง เลือกที่จะทำงานที่กองอยู่

วิธีแก้ไข ก็ง่ายมากครับ  คุณก็กำหนดเส้นตายในงานของคุณเสียเลย กำหนดเป็นนิสัยในทุกงานของคุณไปเลยครับว่า งานชิ้นนี้จะมีกำหนดแล้วเสร็จเมื่อไหร่ บอกกำหนดวัน เดือน ปี และวิธีการทำให้ชัดเจนไปเลย  ข้อระวังอย่ากำหนดเส้นตายที่ห่างไกลเกินไปน่ะครับ ไม่เช่นนั้นสมองของคุณจะมีเวลาคิด ปรับเข้าสู่โหมดป้องกันตนเอง คือโหมดรักความสะบาย นั่นเอง ฉะนั้นให้กำหนดเส้นตายที่ไม่เร่ง และไม่รีบจนเกินไป  โดยคุณอาจจะแบ่งงานเป็นย่อย ๆและ กำหนดเส้นตาย เคลียร์ปิดทีล่ะงาน โดยให้กำหนดเส้นตายแต่ละงาน มีระยะพอๆ กัน ไม่ห่าง และใกล้กันจนเกินไป

ลองนำไปปรับใช้ดูครับ แล้วมารผจญที่เรียกตนเองว่า “ผัดวันประกันพรุ่ง” จะทำอะไรคุณไม่ได้อย่างแน่นอนครับ

Tags: , , ,

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*