หลายครั้งใหม่ครับ ที่คุณอยู่ในฐานะผู้นำ ถูกใครก็ตามใส่อารมณ์ หรือเหวี่ยงใส่คุณ ไม่ว่าคนนั้นจะเป็น ผู้บังคับบัญชาคุณ. ลูกน้องคุณ ผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าคุณ เพื่อนร่วมงานคุณหรือใครก็ตาม แล้วคุณตอบโต้กลับทันที เพราะเรื่องนั้นกระทบกับคุณ เรื่องนั้นมันไม่จริง คุณอาจจะตอบโต้กลับด้วยเหตุผล หรือหลักฐานที่คุณมี หรือจะด้วยการแจ้งให้เขาทราบว่าการใส่อารมณ์ใส่คุณนั้นมันไม่ถูกต้อง แต่เขาก็ไม่ฟัง กลับมีอารมณ์ และเหวี่ยงใส่คุณเรื่อยๆ สุดท้ายก็หาข้อสรุปไม่ได้ ยิ่งคุณชี้แจงไป ยิ่งคุณตอบโต้ไป ก็ยิ่งไปเติมฟืนใส่ไฟ ให้มันแรงขึ้น. ผมกำลังจะบอกว่า คุณไม่จำเป็นต้องตอบโต้กลับไป เพราะมันเสียเวลา รังแต่จะทำให้คุณเป็นแบบเขา เกียรติของคุณก็จะยิ่งต่ำลง ๆ ตามเขาไปด้วย
การที่คุณตอบโต้ ด้วยปฏิกิริยาใดๆ ก็ตามกับคนที่ใส่อารมณ์เข้าหาคุณนั้น ยิ่งจะทำให้เรื่องราวบานปลาย เรื่องจะไม่จบ ปัญหาจะยิ่งเพิ่มขึ้นจากการตอบโต้นั้น เพราะเมื่อเกิดอารมณ์ขึ้นมาแล้ว ไม่ว่ากับคนที่ใส่อารมณ์กับคุณ หรือแม้กระทั่งตัวคุณเองที่พยายามจะชี้แจงอะไรก็แล้วแต่ ความมีเหตุผลจะลดลง จนไม่มีอีกต่อไป สิ่งที่ผมจะแนะนำคุณในขณะที่มีคนมาหาเรื่องคุณด้วยอะไรก็แล้วแต่ ให้คุณปฏิบัติดังนี้
1. เมื่อมีคนมาใส่อารมณ์กับคุณ ด้วยความไม่พอใจคุณเรื่องใดก็ตาม ให้คุณใช้เหตุผลที่ถูกต้อง พูดด้วยน้ำเสียงสุภาพเข้าหาเขา เมื่อคุณได้ทำการชี้แจงเหตุผลให้เขาฟังแล้ว ปรากฎว่าเขายังไม่ฟัง และใส่อารมณ์กับคุณอีก คิดเอาแต่ความคิดของตัวเองว่า ตัวเขานั้นถูก ให้คุณเงียบ และฟัง หรือดูเขาสื่อสารอย่างเดียว หากเขาหาเรื่องคุณอีก และถามคุณว่า “ทำไมไม่ตอบ” ให้คุณตอบกลับไปด้วยน้ำเสียงสุภาพไปเลยว่า “ได้ชี้แจงเหตุผลทั้งหมดไปแล้ว ขึ้นอยู่กับตัวคุณแล้วว่า จะรับกับเหตุผลนี้ได้ไหม ” หากคุณบอกไปแล้ว เขายังจะหาเรื่องคุณต่อ ให้คุณเงียบ และบอกว่า ขอตัวก่อนน่ะครับ/ค่ะ. จากนั้นคุณจะเป็นฝ่ายได้เปรียบทันที. เพราะการที่เขายังหาเรื่องคุณไม่หยุดหย่อน เขาอาจจะหลุดคำพูด กริยา อาการ ที่ไม่เหมาะสมออกมา. ซึ่งจะกระทบต่อภาพลักษณ์ของเขาเอง. และคุณมีแต้มต่อมากกว่า เพราะสามารถควบคุมอารมณ์ และจิตใจของตัวเองได้
2. เมื่อคุณชี้แจงแล้ว เงียบก็แล้ว ทำอะไรก็แล้ว เขาก็ยังจะหาเรื่องคุณ และขอคำตอบจากคุณให้ยอมรับความผิดให้ได้ ( ทั้งๆ ที่คุณไม่ผิด) คุณไม่ต้องเสียเวลาชี้แจง อีกต่อไป ให้หาบุคคลที่อยู่ระดับที่สูงกว่า เช่น ผู้บังคับบัญชา หรือผู้อาวุโสในที่ทำงาน เป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยปัญหาดังกล่าว. ในข้อนี้ มีผู้ที่พลาดกันเยอะครับ. เพราะผู้ที่ใส่อารมณ์คุณ ไม่ฟังคุณแล้ว คุณจะพูดอะไรเขาก็ไม่ฟังครับ. หากคุณยังดื้อดึงจะชี้แจง จะพูด จะส่งเมล์ชี้แจง หรือจะสื่อสารอะไรก็ตามก็ไม่มีประโยชน์. สุดท้ายก็จบลงด้วยการลงไม้ลงมือกัน. ใส่ร้ายให้เพื่อนร่วมงานแต่ล่ะฝ่ายฟัง สุดท้ายแรงๆ ก็เสียประวัติ. บางครั้งร้ายแรงจนกระทั่งทำงานร่วมกันไม่ได้ จนต้องแยกสถานที่ทำงาน หรือออกงาน. ซึ่งไม่คุ้มเลย. ให้ผู้ที่อยู่ในระดับสูงกว่าคุณ เป็นผู้ตัดสินดีกว่า โดยที่คุณไม่ต้องเปลื่องแรง. เสียอารมณ์เพิ่มขึ้น จะดีกว่าครับ
3. ท่าที กริยา คำพูด สีหน้า ที่แสดงออกต่อผู้ที่กำลังใส่อารมณ์คุณ มีความสำคัญมาก คุณต้องไม่เผลอแสดงอารมณ์รุนแรงออกไปครับ. ไฟไม่สามารถดับไฟได้ คุณจงจำข้อนี้ให้ขึ้นใจ. เขาร้อนมาเดือดดาลมา คุณต้องนิ่งๆ เย็นๆ เหมือนน้ำ. เมื่อเขาใช้คำพูดที่ไม่เหมาสมมา คุณต้องตอบโต้ด้วยถ้อยคำที่สุภาพ. เมื่อเขาแสดงสีหน้าโกรธ ขึงขังเข้ามา ให้คุณตอบโต้ด้วยสีหน้าที่เรียบเฉย อมยิ้ม. เมื่อเขาพิมพ์ส่งเมล์ หรือส่งไลน์มาด้วยประโยคที่ไม่เหมาะสม หยาบคาย รุนแรงมา. ให้คุณตอบด้วยประโยคที่สุภาพลงท้ายด้วยคำว่า ครับ/ค่ะ ทุกครั้ง. เมื่อคุณควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้ ถือว่าสถานะทั้งหมดทั้งมวล คุณจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ. คุณไม่ได้มีสถานะอยู่ในระดับเดียวกับเขา. คุณอยู่เหนือกว่าเขาทุกอย่าง. อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือครับ ไม่คุ้มค่าเลย
ลองนำไปปรับใช้ดูน่ะครับ แรกๆ อาจจะยาก และฝืนแต่คุ้มค่าแน่นอน ชีวิตในการทำงานของคุณจะง่ายขึ้นเยอะเลยครับ