ปลุกพลังแห่งผู้นำ

พูดและรับฟังความคิดเห็นอย่างเปิดเผยเถอะ ดีกว่ากันเยอะเลย

Rating:

ไม่ว่าคุณจะอยู่ในฐานะหัวหน้างาน. เพื่อนร่วมงาน. คนในครอบครัว  ลูกน้อง เคยไหมที่รับฟังความคิดเห็นอะไรที่ไม่ถูกต้อง ไม่เข้าท่า หรือไม่เห็นด้วยกับเรื่องราวต่างๆ ที่ผู้อื่นพูด และไม่อยากจะเสนอความคิดเห็นออกไป กลัวเขาเสียหน้า กลัวความสัมพันธ์จะขาดสะบั้นลง หรือด้วยเหตุผลเพราะความเกรงใจ สุดท้ายก็ยอมทำตามแนวทางนั้น ทั้งๆที่ไม่เห็นด้วย ทั้งๆที่การทำตามนั้นจะก่อผลเสียซ่ะมากกว่า  และอีกอย่างคุณก็มีแนวทางหรือวิธีการที่ดีกว่านี้ไม่รู้กี่เท่า แต่คุณก็ไม่กล้าเสนอ เพราะกลัวคนๆ นั้นที่เขาแสดงความคิดเห็นเสียความรู้สึก  ผมกำลังจะบอกว่า การที่คุณเก็บเงียบความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วย หรือความคิดเห็นเด็ดๆ ของคุณไว้ กลับยิ่งทำร้ายองค์กร มากกว่าการที่คุณจะเสนอความคิดเห็น (ด้วยเจตนาที่ดี) ออกไปตรงๆ

 

และที่เป็นจุดแห่งการแตกหักในด้านความสัมพันธ์ครั้งสำคัญเลยก็คือ การที่คุณไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดของคนๆ นั้นแล้ว ไม่พูด กับเขาตรงๆ เสร็จแล้วนำเรื่องที่คุณไม่เห็นด้วย กับความคิดเห็นของคนอื่นๆ ที่คุณไม่เห็นด้วยนั้นไปพูด ให้คนอีกคนหนึ่งฟัง ว่าคุณไม่เห็นด้วยอย่างนั้น ไม่เห็นด้วยอย่างนี้  ความคิดเห็นของฉันสิ ดีกว่าอีก เสร็จแล้วคนที่รับฟังความคิดของคุณก็นำไปพูดต่อ เข้าหูคนต้นเรื่อง ทำให้เกิดความไม่พอใจเลิกคบกับคุณไม่เลยก็มี. แล้วทำไม “คุณถึงไม่พูด และแสดงความคิดเห็นของคุณไปเลยล่ะ”. เพราะเกรงใจ ใช่ไหม เพราะกลัวเขาเสียหน้าใช่ไหม ผมกำลังบอกว่า หากคุณกำลังคิดเช่นนี้ ” มันไร้สาระสิ้นดี “

การผลัดกันรับฟัง และเสนอความคิดเห็นแบบตรงๆ ด้วยเจตนาที่ดี มันจะได้ประโยชน์เยอะแยะมากมายสำหรับองค์กรของคุณ การวิจารณ์กันต่อหน้าตรงๆ เป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยคนเก่ง เต็มไปด้วยคนมีคุณภาพ และช่วยลดปัญหาที่จะตามมาอย่างมากมายมหาศาล การที่คุณวิจารณ์หัวหน้างาน และหัวหน้างานคนนั้นไม่ยอมรับฟัง และคิดว่าคุณหัวแข็ง หัวหน้างานคนนั้นจะเป็นหัวหน้างานที่ไม่มีภาวะผู้นำ ต้องทำตามฉันเท่านั้น  และที่สำคัญเป็นผู้นำที่หัวโบราณไม่ทันสมัย นี่เป็นยุคการบริหารใหม่กันแล้วครับ ใครที่ทำอยู่ หรือคุณควรเปลี่ยนแปลง และเปิดใจให้กว้างเพื่อรับฟังความคิดเห็นการตรงๆ ได้แล้ว

การแสดงความคิดเห็นกันครงๆ ต่อหน้า ไม่นำไปพูดลับหลัง นินทา หรือกระซิบกัน เป็นการป้องกัน และลดทอนการที่คุณจะถูกแทงข้างหลัง ใส่ร้ายกันภายหลังได้ชงัดนัก ทำให้รับทราบปัญหา ทำงานได้เร็วขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคุณในฐานะผู้นำต้องทำตัวเป็นต้นแบบ แห่งการแสดงความคิดเห็นตรง คุณต้องเป็นคนเปิดเรื่องเพื่อขอความคิดเห็น ไม่ใช่บล๊อคความคิดเห็นทั้งหมดของลูกน้อง เพราะกลัวตัวเองเสียหน้า หากคิดเช่นนี้ องค์กรของคุณ แผนกของคุณ หรือลูกน้องของคุณจะเจริญ เก่งขึ้นได้อย่างไร

แต่การแสดงความคิดเห็น หรือการ Feedback กันต่อหน้าตรงๆ ที่ดีนั้น จะต้องประกอบไปด้วย 1. ต้องมีเจตนาที่ดี.  2. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม โดยไม่คำนึงถึงตนเอง.   จึงจะเรียกว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ดี และสร้างสรรค์ หากคุณไม่ได้มีเจตนาที่ดี. หรือคำนึงแต่ผลประโยชน์ของตนเอง. การแสดงความคิดเห็น หรือ Feedback นั้น จะเป็นการหาเรื่องทันที คราวนี้จบยาก ฉะนั้น หากคุณจะแสดงความคิดเห็นตรง ๆ กับใครก็ตาม ให้คิดถึงประเด็น ทั้งสองข้อนี้ก่อนที่คุณจะขยับปากน่ะครับ

วัฒนธรรมองค์กร ที่แสดงออกอย่างชัดเจนถึงการ แสดงความคิดเห็น การ Feedback ต่อหน้ากันตรงๆ คือ องค์กรระดับโลกอย่าง  NETFLIX ซึ่งมีการกล่าวไว้เลยว่า ” ในองค์กร NETFLIX หากคุณไม่เห็นด้วยกับเพื่อนร่วมงาน แล้วไม่ความคิดเห็น และ ฟีดแบ็กกันต่อหน้า ที่จะเป็นประโยชน์ ก็เท่ากับไม่ซื่อสัตย์กับบริษัท เพราะนั่นหมายความว่า คุณสามารถจะช่วยบริษัทได้ แต่คุณไม่ช่วย “ ด้วยวัฒนธรรมองค์กรของ NETFLIX ที่ต้องมีการแสดงความคิดเห็นต่อหน้ากันตรงๆ จึงทำให้มีแนวความคิดใหม่ๆ มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริษัทเต็มไปด้วยคนเก่ง จึงทำให้องค์กรของ NETFLIX เป็นองค์กรแสนล้านในปัจจุบันนี้

ส่ิงหนึ่งที่คุณต้องทำหากต้องการสร้างสังคม หรือวัฒนธรรม แห่งการแสดงความคิดเห็นต่อหน้ากันตรงๆ  อาจจะต้องมีการปรับตัว และยากสักหน่อยในสังคมการทำงานแบบคนไทยก็คือ คุณต้องเริ่มด้วยการให้ลูกน้อง ฟีดแบ๊กเจ้านายก่อน  แล้วค่อยตามด้วยเจ้านายหรือหัวหน้างานเป็นฝ่ายฟีดแบ๊กลูกน้องกลับไปบ้าง ประสิทธิภาพ ที่ได้ผลที่สุดก็คือ การที่ลูกน้องกล้าที่จะแสดงคามคิดเห็นต่อหน้า ผู้บังคับบัญชาเท่านั้น ลองนำไปปรับใช้กับองค์กรคุณดู แล้วองค์กรคุณจะเปลี่ยนไป จะพัฒนาขึ้น จะเต็มไปด้วยคนเก่ง และแนวคิดใหม่ๆ

และที่สำคัญที่สุด ไม่แพ้เรื่องการส่งเสริมให้มีการเสนอความคิดเห็นตรงๆ ก็คือ อาการที่คุณแสดงออกในฐานะผู้รับคำวิจารณ์ หรือ ฟีดแบ็ก คุณต้องแสดง ท่าที ซึ่งแสดงถึงการยอมรับฟีดแบ็กนั้น ทั้งนี้เพื่อให้ลูกน้อง หรือผู้วิจารณ์รู้สึกปลอดภัย โดยคุณต้องขอบคุณทุกๆ คำวิจารณ์นั้น ทุกครั้งด้วยท่าทีที่เป็นมิตร  เพื่อการพูดคุย หรือการประชุมในครั้งหน้า ทีมงาน รวมถึงลูกน้องของคุณจะกล้าที่จะเสนอแนวความคิดอีกครั้ง เพราะหากคุณแสดงท่าทีไม่พอใจ แข็งกระด้างต่อความคิดเห็น ครั้งต่อไปก็ ฝันไปเถอะครับ ที่ลูกน้องของคุณจะแสดงความคิดเห็น หรือฟีดแบ็ก ในเชิงสร้างสรรค์กับคุณอีก

ลองนำแนวทางเรื่องการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ฟีดแบ็ก แบบต่อหน้าตรงๆ ไปปรับใช้ดูในองค์กร หรือแม้แต่ในชีวิตประจำวันของคุณดูน่ะครับ แรกๆ คุณในฐานะผู้นำ หรือหัวหน้างานอาจจะขัดใจคุณเองสักหน่อยแต่รับรองคุ้มค่าที่จะลอง คุณจะมีแนวความคิดที่เปี่ยมล้นมาเพื่อพัฒนาองค์กร หรือแม้แต่มาพัฒนาตัวของคุณเองได้อย่างไม่รู้จบ ที่สำคัญคุณต้องยอมรับ และขอบคุณทุกๆ ข้อคิดเห็นนั้น

 

 

Tags: ,

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*