ปลุกพลังแห่งผู้นำ

บริหารจัดการผู้บังคับบัญชายังไงดี? ให้ทำงานร่วมกันได้

 “หัวหน้ามาใหม่นี่ เฮี้ยบจัง”  “ฉันทำงานกับหัวหน้าไม่ได้เลย ละเอียดเกิน”  ” ผู้จัดการคนนี้พูดมากจัง ฟังแล้วปวดหัว อารมณ์เสีย” คุณเคยบ่นถึงหัวหน้า หรือผู้บังคับบัญชาของคุณแบบนี้ไหมครับ อย่าบอกน่ะว่าไม่เคย อาจจะบ่นโดยไม่ใช้ประโยค แบบนี้ อาจจะเป็นประโยคอื่น แต่ก็เป็นสัญญาณว่า คุณไม่พอใจในการทำงานร่วมกับผู้บังคับบัญชาของคุณ  ผมกำลังจะบอกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาโลกแตกครับ เป็นกันทุกๆ องค์กร ทั่วโลก แต่ก็ไม่พ้นจุดสำคัญที่ว่า “แล้วฉันจะทำอย่างไร เพื่อให้ทำงานร่วมกับหัวหน้าคนนี้ ของฉันได้” นั่นเอง 

 

แต่ก่อนอื่นผมขอบอกก่อนเลยว่า ไม่ว่า ความคิดของหัวหน้าคุณจะแตกต่างจากคุณ  ไม่ว่าการทำงานของคุณจะดูเข้าท่ากว่าผู้บังคับบัญชาของคุณ  ไม่ว่าคุณจะมีหน้าตาที่ดีกว่าหัวหน้าคุณ หรือไม่ว่าด้านความรู้ในงานของคุณจะดีกว่าหัวหน้าคุณก็ตาม  การทำงานระหว่างคุณในฐานะลูกน้อง และผู้บังคับบัญชานั้น จะเป็นไปในลักษณะของ “การพึ่งพาซึ่งกันและกัน” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะคุณกับหัวหน้าคุณคือ ทีม คุณและผู้บังคับบัญชาของคุณ สามารถทำผิดพลาดกันได้ ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  ฉะนั้น ผมจึงให้คุณเข้าใจด้วยกันอยู่ 2 ข้อ โดยขอให้คุณนำไปคิด และเริ่มทำทันทีดังนี้

1. ข้อแรกเลย สำคัญมากด้วย ทั้งคุณ และผู้บังคับบัญชาของคุณ โดยเฉพาะตัวคุณเอง ต้องมีความเข้าใจให้แจ่มชัดเลยว่า จุดอ่อน จุดแข็ง และความต้องการของผู้บังคับบัญชาของคุณเป็นอย่างไร

                 –  ต้องเข้าใจจุดอ่อน จุดแข็ง เป้าหมาย และความต้องการของผู้บังคับบัญชา คุณอย่างเพิ่งรีบร้อน หากคุณยังไม่เข้าใจหัวหน้างาน
                     ของคุณ อาจจะเป็นเพราะคุณอาจจะเป็นพนักงานใหม่  หรือมีการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาใหม่ ช่วงแรก หรือ เดือนแรกๆ คุณต้อง
                     สังเกตุ ดูจุดอ่อน จุดแข็ง ของหัวคุณ  ความกดดันต่างๆ ที่หัวหน้าคุณได้รับ  โดยคุณอาจจะตั้งคำถามเหล่านี้กับตัวคุณ เพื่อหาคำ
                     ตอบที่เกี่ยวข้องกับหัวหน้าคุณ เช่น  

“แรงกดดันของผู้บังคับบัญชาของเขาคืออะไร ต้องการแบบไหน?”
                     “จุดอ่อน จุดแข็งของเขาคืออะไร?”
                     “ผู้บังคับบัญชาของคุณ ชอบทำงานรูปแบบไหน? มีความต้องการเร่งด่วนแค่ไหน?”
                     “รายงานต่างๆ ข้อมูลต่างๆ หรือ การประชุม มีความเป็นทางการมากน้อยแค่ไหน? ชอบให้คุณส่งเมล์ให้ หรือให้โทรศัพท์แจ้งได้”
                       และอีกคำถาม รายละเอียดของหัวหน้าคุณ ที่สำคัญเลย ไม่แพ้เรื่องงาน ก็คือ ” เขาชอบทานอาหารอะไร ทานแบบไหน?” เป็นสิ่งที่
พลาดมากเลยทีเดียว เพราะอย่างน้อย หากคุณสนองตอบความต้องการเรื่องเล็ก เรื่องน้อย โดยเฉพาะเรื่องอาหาร ก็เป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตการงานของคุณได้เช่นกันน่ะครับ เพราะเป็นการแสดงถึงความเอาใจใส่ในหัวหน้าของคุณ  
                       อย่าลืมน่ะครับ ถึงแม้ว่า ตัวคุณ และหัวหน้างานจะต้องมีการทำงานร่วมกัน แก้ไขปัญหาร่วมกัน สุดท้ายแล้ว คุณต่างหาก ที่ต้องพึ่งพา และอาศัยเขาอยู่ดี ฉะนั้นหากคุณรู้รายละเอียด เป้าหมาย จุดอ่อนจุดแข็งของหัวหน้าคุณ ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรครับ  

   2. ข้อที่สอง เมื่อได้ข้อมูลตัวคุณ และผู้บังคับบัญชาตามข้อที่ 1 แล้ว  ให้นำข้อมูลมาสร้าง และบริหารความสัมพันธ์ในการงานที่ดีกับผู้บังคับบัญชาของคุณ โดยจะต้องเป็นความสัมพันธ์ที่ทำให้การทำงาน รูปแบบการทำงาน รวมถึงคุณสมบัติต่างๆ ให้เข้ากันได้ Win Win ทั้ง 2 ฝ่าย นั่นก็คือ ต้องเป็นไปตามความคาดหวังร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย และตอบสนองความต้องการ ความพึงพอใจสำหรับอีกฝ่ายหนึ่งได้ จำไว้น่ะครับว่า ต้องตอบสนองความต้องการของทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ใช่มีแต่ อีโก้ เฉพาะฝังคุณเพียงอย่างเดียว

                 ความสัมพันธ์ กับหัวหน้าของคุณนั้น เป็นเพียงความสัมพันธ์เพียง ครึ่งเดียวของความสัมพันธ์ทั้งหมด ส่วนความสัมพันธ์อีก ครึ่งหนึ่งก็คือ ความสัมพันธ์ของตัวคุณเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการควบคุม ฉะนั้นคุณจะต้องรู้จุดแข็ง และจุดอ่อน รวมถึงรูปแบบ ลักษณะการทำงานของตัวคุณเองด้วย

คุณอาจจะไม่สามารถที่จะเปลี่ยน เลิกบุคลิกลักษณะพื้นฐาน เฉพาะของตัวคุณได้ แต่คุณสามารถวิเคราะห์ พิจารณา และตระหนักได้ว่าลักษณะของคุณนั้นจะช่วยสนับสนุน หรือขัดขวางการทำงานร่วมกัน ระหว่างผู้บังคับบัญชาของคุณ กับคุณเองอย่างไร  โดยเน้นลักษณะที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ และการทำงานร่วมกันจะดีกว่า  แต่หากว่า มีการระทบกัน ไม่ลงรอยกัน ระหว่างคุณกับผู้บังคับบัญชา แนะนำให้ทั้ง 2 ฝ่ายหยุดโต้เถียงกันก่อนเรื่องจะบานปลาย แล้วกลับมาทบทวนกัน แล้วค่อยกลับมาพูดคุยกัน ประชุมร่วมกันใหม่อีกครั้ง 

                  ผมขอแนะนำว่า หากประเด็นใดของหัวหน้างานคุณ ที่ไม่รุนแรง หรือไม่ถูกใจคุณ แต่เป็นเรื่องเพียงเล็กน้อย ก็ให้คุณเป็นฝ่ายถอยออกมาก่อนเถอะครับ อย่างไรคุณก็เสียเปรียบ แต่หากเป็นเรื่องที่ผิดเกณฑ์ หรือเป็นเรื่องที่ผิด ยอมรับไม่ได้ ผมแนะนำให้ใจเย็นๆ ทำอารมณ์ให้ดีๆ คุยด้วยเหตุ และผลกับผู้บังคับบัญชาของคุณเป็นการส่วนตัว ผมเชื่อว่าผู้บังคับบัญชามีวุฒิภาวะพอในการรับฟัง เพราะหากไม่แน่จริง ไม่มีเหตุผลหรือวุฒิภาวะจริง เขาก็คงไม่ได้เลื่อนขึ้นมาเป็นผู้บังคับบัญชาของคุณ 

และทั้งหมดที่กล่าวมา คือแนวทาง วิธีการเบื้องต้น ในการทำงานร่วมกับผู้บังคับบัญชาของคุณ ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข มีประสิทธิภาพ ยังมีวิธีการบริหารผู้บังคับบัญชาอีกเพิ่มเติม ซึ่งผมจะนำมาฝากในบทความหน้าครับ

 

Tags: ,

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*