ปลุกพลังแห่งผู้นำ

ในฐานะผู้นำ คุณต้องฝึกให้ลูกน้องตัดสินใจ

Rating:

  ผมขอถามคำถามโง่ๆ สักนิดหนึ่งน่ะครับว่า ” คุณเคยตัดสินใจ “ ในเรื่องต่างๆ บ้างหรือไม่? ร้อยทั้งร้อย คุณก็จะตอบว่า ก็เคยสิ จะบ้าหรือปล่าว เกิดมาต้องผ่านการตัดสินใจมาบ้าง หล่ะ  ยิ่งคุณโตขึ้น ก็ย่อมมีเรื่องที่คุณต้องตัดสินใจมากขึ้น ตามความรับผิดชอบของคุณเอง

และที่แน่นอนที่สุด แน่ยิ่งกว่าแน่ หน้าที่หลักๆ ของการมี ภาวะผู้นำ ก็คือ การตัดสินใจ นั่นเอง

 

 การตัดสินใจ ของผู้ที่มีภาวะผู้นำนั้น จะต้องมีการตัดสินใจที่เด็ดขาด เป็นที่พอใจสำหรับทุกฝ่าย ยิ่งหากผู้ที่มาขอให้คุณช่วยตัดสินใจเป็น ลูกน้องของคุณด้วยล่ะก็ ยิ่งมีความสำคัญขึ้นไปใหญ่ เพราะการที่คุณจะได้รับความน่าเชื่อถือ หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าการตัดสินใจของคุณเป็นที่น่าพอใจสำหรับทุกคน ทุกฝ่ายมากน้อยเพียงใด

 และ การที่ผู้นำคนนั้น มีการตัดสินใจ ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะมีการฝึกฝนให้ลูกน้องฝึกตัดสินใจ ไปด้วย คุณคงไม่ต้องการให้ลูกน้องของคุณเป็นหุ่นยนต์ ที่คอยตัดสินใจ หรือทำตามคำสั่งของคุณเพียงอย่างเดียวจริงไหมครับ ลองคิดดูสิครับว่าทั้งองค์กร มีคุณคนเดียวที่สามารถคิด และตัดสินใจได้แต่เพียงผู้เดียวจะเหนื่อย หนักหนา สาหัสขนาดไหนครับ

ฉะนั้น ในช่วงที่ลูกน้อง นำเรื่องต่างๆ มาให้คุณตัดสินใจ ถือว่าเป็นโอกาสอันสูงค่าของคุณ ที่จะฝึกให้ลูกน้องฝึกตัดสินใจ โดยคุณต้องมีการสอบถามกลับเขาไปด้วยประโยคดังนี้คือ ” ถ้าเป็นคุณหล่ะ จะทำอย่างไร ”   หรือว่า ” คุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ครับ “ เป็นต้น  เป็นคำถามที่สั้นๆ แต่มีพลังมากในการฝึกการตัดสินใจของลูกน้องครับ ซึ่งจะเป็นการปูพื้นความเป็นผู้นำของเขา เพื่อก้าวสู่ตำแหน่งหัวหน้าในอนาคต ฉะนั้นคุณไม่ควรตัดสินใจด้วยตัวคุณเองเพียงอย่างเดียว คุณต้องให้ลูกน้องของคุณ มีบทบาทในการตัดสินใจเรื่องสำคัญดังกล่าวดัวย

โดยเฉพาะหากคุณในฐานะผู้นำ หรือต้องการฝึกความเป็นผู้นำ เมื่อคุณตัดสินใจมอบหมายงานให้ลูกน้องทำงานใดก็ตาม หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น คุณในฐานะผู้นำต้องรับผิดชอบในความผิดพลาดนั้น เพราะคุณเป็นผู้ตัดสินใจให้เขาทำงานชิ้นนั้นเอง ในขณะเดียวกัน หากลูกน้องของคุณได้มีการมอบหมายให้ลูกน้องของเขาทำงานทีคุณต้องเป็นคนทำ และเกิดความผิดพลาดเกิดขึ้น คุณในฐานะผู้มอบหมายงาน ต้องรับผิดชอบในความผิดพลาดนั้นด้วย  ห้ามปัดความผิดให้ลูกน้องที่ทำงานให้เด็ดขาด  เพราะหากทำเช่นนั้น คุณจะไม่สมควรมีภาวะผู้นำครับ  ผู้ที่มีภาวะผู้นำ ต้องพร้อมยอมรับความผิดพลาดจากงาน ที่ตนได้รับมอบหมายไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตามครับ

 และหากผู้นำมีการรับผิด ในความผิดพลาดของงานที่ตนมอบหมายแล้ว ควรหันกลับมามองที่ลูกน้องของตนเอง ว่าสาเหตุปัญหาด้งกล่าวว่าเกิดจากอะไร และหาทางป้องกันโดยเร็วที่สุด ผู้นำไม่ควรนิ่งนอนใจในความผิดพลาดดังกล่าว คุณต้องแก้ไขงานดังกล่าว หากคุณปล่อยให้มีความบกพร่องไปเรื่อย แม่จะเป็นความผิดพลาดเล็กๆ น้อยก็ตาม ทำไปบ่อยๆ จะเกิดความหละหลวมของการพัฒนาการเขียน ฉะนั้นคุณในฐานะผู้นำ จะนิ่งนอนใจไม่ได้ ต้องเขาไปมีบทบาทในการแก้ไขทันที

Tags: , , , ,

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*