ปลุกพลังแห่งผู้นำ

ก่อนผู้นำจะให้คนออกจากงานต้องทำอย่างไร

Rating:

 ” พนักงานคนนี้ทำงานไม่ดีเลย…เอาไว้ทำไมไล่ออกไปเลย หาคนใหม่มาแทนง่ายจะตาย “

     คุณเคยคิดแบบนี้ไหม? ใช่ครับหากคุณมีตำแหน่งหัวโขนอันหนักอึ้งสวมอยู่ มันคงง่ายมากหากคุณจะไล่ใครออกไปสักคนหนึ่ง

    แต่การทำเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นการกระทำของผู้นำ เป็นการกระทำที่เป็นลักษณะของ การถือตัวเองว่าตำแหน่งสูงส่ง ไม่ได้คำนึงถึงหลักความถูกต้อง ที่สำคัญก็คือ ไม่ได้คำนึงถึงหลักความเป็นมนุษย์ซึ่งผู้นำต้องถือเป็นหลักการประจำใจของตน

f121c3994ef1bdb13aaa8e96cdd4a8fc

 

การพบว่าพนักงานคนนั้นไม่เหมาะสม และคุณก็ลงดาบฟันเขาทันทีน้น ในฐานะผู้นำไม่ถูกต้องเลย เว้นแต่หากเป็นการทุจริต คดโกง ค้ายา ซึ่งคุณสามารถกระทำการได้  แต่หากเป็นกรณีอื่นเช่นประสิทธิภาพในการทำงาน คุณไม่สามารถจะปลดเขาได้ในชั่วข้ามชั่วคืน คุณต้องพิจารณาให้ดีก่อนจะปลดพนักงานสักคนของคุณออกไป

     ก่อนที่จะปลดพนักงาน ผู้นำต้องหันกลับมาถามตนเองทุกครั้งว่าตนได้ให้ความรู้ อบรม ปฏิบัติต่อพนักงานคนนั้นเป็นอย่างดี สุดความสามารถของคุณหรือยัง ได้สอน แนะนำ ช่วยเหลือเขาในการแก้ไขปัญหาแล้วหรือยัง  หรือคุณปล่อยให้เขาปฏิบัติงานเอง ทำเอง เรียนรู้เองโดยปราศจากการวางหลักสูตรการทำงาน การฝึกงาน สอนงาน พอเขาไม่สามารถทำได้ตามที่ตนต้องการคุณก็จะปลดเขาออก นั่นไม่ใช่ความผิดของเขา  มันเป็นความผิดของคุณ…..แล้วใครล่ะที่สมควรจะโดนปลดออก คิดดูสิครับ

     ผู้นำต้องรู้จักการให้โอกา่สพนักงาน และลูกน้องของตน แต่ไม่ใช่ว่าให้โอกาสแล้ว ไม่มีการแนะนำ บอกถึงจุดผิดพลาดของเขาให้เขารับทราบ คุณต้องวิเคราะห์ว่าเขาผิดพลาดจุดไหน ต้องเสริมจุดไหน ่คุณก็อบรม แนะนำ เน้นย้ำกับเขาให้เขาพัฒนาให้ตรงจุด ไม่ใช่ว่าเห็นเขาทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ก็ส่งอบรมหลักสูตรแบบรวมๆ กันใหม่ตั้งแต่ต้น   ในฐานะผู้นำต้องมองทะลุให้เห็นจุดอ่อนของเขา แล้วทำการเสริมในจุดที่เขาอ่อน

      แต่หากให้โอกาสก็แล้ว อบรมชี้แนะก็แล้ว ไม่มีการพัฒนาให้ดีขึ้น หากต้องปลดจริงๆ ควรมีการบอกกล่าวเขาล่วงหน้า และมีการลงนามเอกสารเอาไว้ด้วย เพื่อป้องกันการฟ้องร้องที่อาจจะเกิดขึ้น ของอย่างนี้ไม่เข้าใครออกใคร ป้องกันตนเองไว้ก่อนดีที่สุด

     เห็นไหมครับว่าการให้คนออกจากงาน แบบยังคงความสัมพันธ์กับพนักงานไว้นั้น เป็นเรื่องที่ต้องใช้ศาสตร์ และศิลป์พอสมควร ขอแนะนำอย่าให้พนักงานออกงานแบบฉับพลัน โดยไม่ได้ให้โอกาส การกระทำเช่นนี้ จะเป็นการสร้างดุลย์แห่งความหวาดกลัวให้เกิดขึ้นในจิตใจของพนักงานที่เหลืออยู่ พวกเขาจะไม่กล้าออกความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน  พวกเขาจะไม่กล้าเข้าหาคุณ ผู้บริหารบางท่านอาจจะดีใจ ภูมิใจที่มีลูกน้องกลัวตนเอง หากคุณคิดเช่นนั้นคุณคือผู้นำหัวโบราณ  ผู้นำยุคใหม่ไม่ใช่ความหวาดกลัวในการบริหาร แต่จะให้ความร่วมมือในการบริหารต่างหาก 

 

ธวัชชัย สุวรรณสาร

ที่ปรึกษาและโค้ชด้านการพัฒนาศักยภาพบุคคล

086-6593823

Tags: , , , , , ,

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*