ปลุกพลังแห่งผู้นำ

ทำอย่างไร เพื่อให้ลูกน้องรู้สึกสบายใจเมื่อทำงานกับผู้นำเช่นคุณ

Rating:

คุณคงอยากรู้ใช้ไหมว่า จะทำอย่างไรที่จะให้ลูกน้อง หรือใครก็ตามที่ทำงานกับคุณรู้สึกสบายใจ รู้สึกเชื่อใจ และทำงานให้คุณอย่างเต็มที่ด้วยความทุ่มเท และเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมลูกน้องทำงานกับหัวหน้างานคนนี้แล้วรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ ยิ้มแย้มแจ่มใจ ไม่เครียดมาก ส่วน ลูกน้องที่ทำงานร่วมกับหัวหน้างานอีกคนหนึ่งรู้สึกเครียด หน้าบึัง หน้าบูด ทั้งวัน วันๆ รอดูเวลาที่จะเลิกงานเท่านั้น  ผมจะบอกให้ก็ได้ครับ สิ่งที่ทำให้ลูกน้องที่ทำงานกับหัวหน้างานทั้ง 2 กลุ่มนี้แตกต่างกันก็คือ ” การมอบหมายงาน และการดูแลงาน ” ให้ลูกน้อง หรือให้ผู้ใต้บังคับบัญชานั่นเอง

 

เพราะอะไร “การมอบหมายงาน” จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ในการสร้างความรู้สึกที่ดีในการทำงานกับหัวหน้างาน  เพราะความไม่รู้ในการจัดการกับการมอบหมายงานของผู้นำนี่แหล่ะครับ ที่สร้างความแตกต่างในเรื่องความรู้สึกของลูกน้อง เพราะหัวหน้างานเกือบ 80% มักจะมอบหมายงานให้กับลูกน้อง โดยที่ตนเองยังคงเข้าไปก้าวก่าย คอยกำกับ ควบคุมอย่างใกล้ชิดอยู่ ทำให้ลูกน้องทำงานด้วยความไม่สบายใจ เหมือนมีคนมาคอยจับผิด  มาคอยดู ระแวงในตัวเขาอยู่ตลอดเวลา  เมื่อลูกน้องรู้สึกเช่นนี้ จึงทำให้งานที่ออกมาไม่มีความสร้างสรรค์  ไม่มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ทำงานอย่างไม่มีความสุข   คุณสามารถสังเกตุได้ง่ายๆ ว่าลูกน้องของคุณทำงานอย่างมีความสุขหรือไม่ ว่า ” หากลูกน้องคุณจะทำงานอะไรที่สำคัญ มักจะมาถามคุณอยู่ตลอดเวลา ในทุกๆ สำคัญที่คุณมอบหมายให้ทำ ” นั่นแหละครับเป็นสัญญาณว่า การมอบหมายงานของคุณสร้างความอึดอัดให้กับลูกน้อง เพราะคุณคอยไปกำกับ ดูแล และเคยตำหนิลูกน้องคุณ ในแง่ที่ว่า ” จะทำอะไร ทำไมถึงไม่บอกคุณ ”  เพราะเหตุนี้ไง ลูกน้องจึงต้องมาถามคุณทุกๆครั้ง เพราะกลัวคุณด่า กลัวคุณตำหนินั่นเอง

ในวันนี้ผมจึงขอเสนอข้อแนะนำ ในการทำงานร่วมกันกับลูกน้อง หรือใครก็ตามที่ทำงานร่วมกันกับคุณ และคุณในฐานะผู้นำควรจะปฏิบัติตาม หักคุณยังคงเชื่อใจ และอยากให้ลูกน้องทำงานอย่างมีความสุขเมื่อทำงานกับคุณ

         1. แบ่งงาน หรือมอบหมายงานให้ลูกน้องทำเสียบ้าง อย่า กอดงานไว้กับตัว

 เลิกเสียเถิดครับกับความคิดของหัวหน้าส่วนมากที่คิดว่า  ” งานนี้ฉันทำเองดีกว่า หากมอบงานให้ลูกน้องทำ กลัวจะทำไม่ดี” เป็นความคิดที่สร้างความล่มสลายให้กับทีมของคุณมากเลยครับ การที่คุณคิดเช่นนี้แสดงว่า คุณไม่ได้เชื่อใจในตัวลูกน้องหรือทีมงานของคุณเลย  คุณเอาแต่กอดงานเล็กๆ น้อยๆ ไว้  จนคุณไม่มีเวลาทำงานที่สำคัญกว่า ในฐานะผู้นำ การกอดงาน ไม่มอบหมายงาน กลัวตนเองมีความสำคัญลดลงนั้น เป็นความคิดที่ผิดมาก เปลี่ยนแปลงเสียเถิดครับ  กลับไปคิดว่า งานไหนที่คุณสามารถมอบหมายงานให้กับลูกน้อง หรือทีมงานของคุณทำได้  คุณในฐานะผู้นำ ควรทำงานในงานที่สำคัญกับคุณ กับองค์กรจริงๆ หากคุณยังกอดงานเล็กงานน้อยไว้  คุณจะเอาสมองของคุณมาพัฒนาองค์กรได้อย่างไร จริงไหมครับ

 

  2. ให้ลูกน้องของคุณได้มี “พื้นที่ของตนเอง” ในงานที่ทำ

 เมื่อมอบหมายงานให้กับลูกน้อง หรือทีมงานของแล้ว  หัวหน้างานยังคงเข้าไปก้าวก่าวอย่างโน้น อย่างนี้ พอทีมงานทำก็ตำหนิว่า “ทำไมถึงไม่ทำตามที่บอก ฉันเป็นหัวหน้าคุณน่ะ ”  การทำแบบนี้โบราณมากครับ ยุคใหม่แล้วครับ การที่คุณมอบหมายงานแล้ว ยังคอยกำกับงาน แนะนำโน่นแนะนำนี่ ในงานที่คุณมอบหมายไปให้กับทีม  เป็นการไม่ให้ลูกน้องหรือทีมงาน ไม่มี “พื้นที่ของตนเอง” ในการทำงาน   คุณจะต้องปล่อยให้ลูกน้องทำงานของตนโดยที่คุณไม่ต้องไม่ก้าวก่ายมาก   ให้คุณทำงานที่ตรงกับวัตถุประสงค์ และส่งผลดีกับองค์กรดีกว่าครับ

การให้ลูกน้อง และทีมงานของคุณได้มี “พื้นที่ของตนเอง” ในการทำงาน จะเป็นการสร้างความคิดในการเป็นเจ้าของกิจการ เขาจะรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการ จะทำงานอย่างเต็มความสามารถ การให้ลูกน้องได้มีพื้นที่ของตนเองในการทำงาน ทำให้ลูกน้องเกิดรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการ และทำงานของตนเองให้ดีที่สุดในฐานะเจ้าขององค์กรคนหนึ่ง    หยุดเสียเถิดครับ ” ลูกน้องที่คอยแต่รับฟังคำสั่งจากเจ้านายอย่างเดียว ” เป็นวิธีการที่ไม่ดี ไม่ได้เรื่อง ที่สุดในยุคนี้ 

 

       3. มอบอำนาจในการตัดสินใจ ให้กับลูกน้อง

การให้อำนาจในการตัดสินใจ ในบทบาท หน้าที่ และตำแหน่งของตนเองให้กับลูกน้องของคุณ จะเป็นการสร้างความคิด ในการรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ ให้เกิดขึ้นในใจของลูกน้องของคุณ การที่ลูกน้องของคุณคอยถาม คอยแจ้งคุณตลอดเวลาในการตัดสินใจเกือบทุกอย่าง ทำให้ลูกน้องไม่เกิดความมั่นใจ และจะไม่เกิดความคิดรับผิดชอบในผลลัพธ์ ที่ทำ

ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา ริชาร์ด แฮ็กแมน และเกร็ก โอลด์แฮมได้ทำการวิจัยพฤติกรรของพนักงาน 658 คนจากองค์กรชั้นนำ 7 แห่ง โดยทำหน้าที่ที่แตกต่างกัน 62 หน้าที่ พบว่ายิ่งพนักงานมีอิสระในการทำงาน อิสระในการตัดสินใจมากเท่าไหร่ พนักงานจะยิ่งรับผิดชอบต่อผลลัพธ์มากขึ้นเท่านั้นครับ  พวกเขาเรียกว่า เป็น  “ความรับผิดชอบจากประสบการณ์” ซึ่งจะเกิดแรงผลักดัน กระตุ้นให้พนักงานทำงานหนักขึ้น ทุ่มเทมากขึ้น  มีผลงาน และประสิทธิภาพในงานเพิ่มมากขึ้นมากมาย

มาลองปรับใช้วิธีการเหล่านี้ กับลูกน้อง และทีมงานคุณเถอะครับ เพื่อจะได้ทำงานด้วยความสบายใจ เมื่่อลูกน้องทำงานทำงานด้วยความสบายใจ  คุณในฐานะผู้นำ ก็จะรู้สึกภาคภูมิใจ และอุ่นใจไปด้วย เพราะลูกน้อง และทีมงานจะศรัทธาคุณ ทำงานเพื่อคุณและองค์กรด้วยความเต็มใจ

Tags: , ,

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*