หลายๆ คนคงเคยพบว่า เมื่อคุณพูดต่อหน้าสาธารณะชนไปนานๆ แล้วผู้ฟังจะไม่ค่อยสนใจ จะไปพูดคุยกันเสียเอง แทนการฟังคุณพูด….แล้วคุณอาจจะเสียความรู้สึกเป็นอย่างมากว่ายิ่งพูด ยิ่งไม่มีคนฟัง ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้สามารถแก้ไขได้ ด้วยศิลปะแห่งการพูดวิธีหนึ่งก็คือ
” ศิลปะแห่งการหยุด ” หรือ Pause
เนื่องด้วยธรรมชาติของมนุษย์ เกือบทุกๆ คนย่อมมีความเบื่ออยู่ในตนเอง การพูดก็เช่นกัน หากผู้ฟังของคุณมีการฟังไปนานๆ แล้วจะเกิดความเบื่อหน่าย และเมื่อเกิดความเบื่อหน่ายผู้ฟังก็จะเกิดการชักจูงโดยธรรมชาติจากสิ่งเร้าต่างๆ โดยจะหาที่พึ่งพิงเพื่อบรรเทาความเบื่อนั้นนั่นก็คือ บุคคลที่อยู่ข้างๆ เขานั่นเอง
คุณจะสังเกตุได้อย่างไรว่า ช่วงเวลาไหนที่คุณจะใช้ศิลปะแห่งการหยุดในการพูดของคุณ ให้คุณสังเกตุปฏิกริยาของผู้ฟังดังนี้ครับ
1. เมื่อผู้ฟังมีเสียงที่ดังขึ้น มีการคุยกันเองระหว่างคนฟังมากขึ้น
2. เมื่อผู้ฟังเริ่มหลบสายตาจากคุณไปสู่คนข้างๆ เพื่อหาแห่งบรรเทาความเบื่อหน่ายจากการฟัง
่นี่คือสัญญาณ 2 ข้อที่ให้คุณคอยสังเกตุเมื่อใดก็ตามที่เกิดปฏิกริยาของผู้ฟังเกิดขึ้น 1 ข้อ หรือ 2 ข้อพร้อมกัน ผมแนะนำให้หยุดพูด และอยู่นิ่งๆ สัก พักหนึ่ง ประมาณ 30 วินาที ถึง 1 นาที ผู้ฟังเมื่อไม่ได้ยินเสียงคุณพูด เขาเหล่านั้นจะหยุดพูดชั่วคราว และจะมองขึ้นมาบนเวลามองคุณ….ว่าทำไมคุณถึงหยุดพูด
ธรรมชาติของมนุษย์อีกเช่นกันครับ หากมีการกระทำใดๆ ซ้ำ และอยู๋ๆ ก็หยุดฉับพลัน การตอบสนองของเขาจะถูกสั่นคลอน และจะมุ่งหาคำตอบของการหยุดนั้น นี่เป็นการใช้จิตวิทยาของมนุษย์ให้เป็นประโยชน์
หลังจากเบี่ยงเบนความสนใจผู้ฟังให้มาที่คุณแล้ว คุณจึงค่อยพูดต่อไป ข้อแนะนำคือ คุณอย่าฝืนพูดในขณะที่ผู้ฟังไม่สนใจคุณในฐานะผู้พูดเด็ดขาด เพราะพูดไปก็ไม่มีประโยชน์ เบี่ยงเบนให้เขากลับมาฟังคุณ มองคุณจะดีกว่าครับ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว สาเหตุที่ทำให้ผู้ฟังนั้นเกิดความเบื่อหน่ายนั้น ต้องยอมรับเลยว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการพูดของคุณ ซึ่งอาจจะไม่เร้าอารมณ์ ….โดยคุณต้องสังเกตุว่า การพูดแต่ละครั้งของคุณนั้นเกิดเหตุการณ์ที่ผู้ฟัง เปลี่ยนความสนใจไปจากคุณมากน้อยเพียงใด หากพบบ่อยแสดงว่าคุณต้องพัฒนาการพูดของคุณให้มีอารมณ์ที่กระแทกใจผู้ฟังมากกว่านี้
โดยวิธีการพูดที่กระแทกใจผู้ฟัง เพื่อช่วยให้ผู้ฟังตรึงสายตา ตรึงจิตใจเพื่อฟังคุณพูดนั้น ผมจะนำมากล่าวในบทความต่อไปครับผม
ธวัชชัย สุวรรณสาร
ที่ปรึกษาและโค้ชด้านการปลุกศักยภาพบุคคล
081-1689081