“กำหนดกฎให้เข้มงวด จะได้ผลงานที่ดี ยิ่งพนักงานกลัวพนักงานยิ่งไม่กล้าทำผิด” “อยากให้บริษัทเจริญก้าวหน้า ต้องมีกฎคอยควบคุม” “ปล่อยให้ลูกน้องทำงาน งานก็ออกมาไม่ดีซิ เราหัวหน้างานต้องเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด” หากคุณในฐานะหัวหน้างาน กำลังคิด และทำแบบนี้อยู่ล่ะก็ ผมอยากจะบอกว่าสงสารลูกน้องคุณมาก เพราะคุณกำลังบ่มเพาะความประหม่า ความกลัวให้กับลูกน้องของคุณ และสามารถบอกได้เลยว่า แผนกภายใต้ความดูแลของคุณจะไม่ไปไหน
เพราะการตั้งกฎที่มากจนเกินไป จะทำให้พนักงาน หรือคนที่อยู่ด้วยอึดอัด ทำให้เขาไม่กล้าที่จะตัดสินใจใดๆ “เดี๋ยวเอาไว้ฉันถามหัวหน้าก่อนน่ะ” “เดี๋ยวขอดูกฎของหัวหน้าก่อนว่าเขาเขียนไว้ว่าอย่างไร” การตั้งกฎที่มากเกินไปจะเป็นการริดรอน ความมั่นใจของพนักงาน ทำให้ไม่เกิดการพัฒนาใดๆ เคยได้ยินไหมครับว่า การทำงานใดๆ จะต้องรู้สึกว่า เราเป็นเจ้าของบริษัท เราเป็นเจ้าของงาน แต่การตั้งกฎที่มากจนเกิดไปนี่เอง จะทำให้พนักงาน หรือลูกน้องของคุณเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของงานน้อยลง หวงแหนในงานน้อยลง เป็นการบีบให้ความคิดของเขา อยู่จำกัดแค่ในกล่องใบเล็กนิดเดียว ไร้ซึ่งการพัฒนา
ภาวะผู้นำเกิดจากการตัดสินใจในการเผชิญกับปัญหา แต่เมื่อคุณกำหนดกฎไว้ จะทำให้พนักงาน และลูกน้องไม่เกิดการตัดสินใจทำให้ภาวะผู้นำของเขาไม่เกิดจนเกิดเป็นปัญหาที่ต้องให้ หัวหน้ามาตัดสินใจให้ พอเขาตัดสินใจเอง ก็มาตำหนิ ดุด่า แทนที่จะชี้แนะยิ่งทำให้สภาวะขององค์กร หรือแผนกเข้าสู่ยุคมืดไร้ซึ่งการพัฒนา มีแต่ความกดดัน
คุณรู้จักผู้นำพวก “MicroManager” ไหมครับ การบริหารแบบนี้จะเป็นการบริหารโดยเจาะลึกลงไปที่จุดเล็กสุดของงาน ก็คือวิธีการ รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่สุดในการทำงานของพนักงาน ดูแลงานของลูกน้องอย่างใกล้ชิด จนเขารู้สึกอึดอัดตลอดเวลา รวมถึงเป็นการสร้างความกังวลให้กับพนักงานอย่างใหญ่หลวง เพราะการบริหารแบบ MicroManager เป็นการบริหารที่ควบคุมแม้กระทั่ง กระบวนการวิธีการของพนักงานในการทำงาน แทนที่คุณน่าจะเน้นเฉพาะผลลัพธ์ของงาน
เมื่อบอกถึงข้อเสียของการใช้กฎ มากจนเกินไปขนาดนี้แล้ว คุณคงมีคำถามว่า ” แล้วถ้าไม่ใช้กฎ แล้วจะใช้อะไรล่ะ ไม่มีหรอก บ้าไปแล้ว ” ไม่บ้าครับกฎมีหน่ะดีครับ แต่ถ้ามีมากจนเกินไปจะส่งผลเสียซ่ะมากกว่า ผมมีสิ่งที่จะมาทนแทนการใช้กฎดังกล่าวได้ ต้องขอบคุณ Kevin Kruse ผู้เขียนหน้งสือ Great Leaders Have No Rules น่ะครับ ที่เสนอแนวคิดนี้มา ผมว่ามันเจ๋งมากๆ ในการที่คุณจะนำไปปรับใช้
1. จงดูที่ผลลัพธ์ในความรับผิดชอบของเขา
คุณในฐานะผู้นำควรให้งานเขาทำ และรอคอยดูผลลัพธ์ของงานที่เขาทำออกมา ไม่ควรเข้าไปควบคุมถึงกระบวนการของเขา ขั้นตอนของเขา การดูแค่เพียงผลลัพธ์ของงานเขาที่ออกมา จะเป็นการปลูกฝังความเป็นเจ้าของในงาน ความเป็นเจ้าของแผนก ทกให้งานออกมาดี เพราะไม่รู้สึกกดดัน คุณเป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทาง และสนับสนุนในการทำงานให้เท่านั้น และอีกอย่างที่คุณควรคิดไว้เลยก็คือ ” คุณจะมอบการตัดสินใจอะไรให้พนักงานคุณได้บ้าง” ที่กำหนดแบบนี้มีวัตถุประสงค์คือให้ ลูกน้องของคุณได้คิดเอง ตัดสินใจเอง รู้จักรับผิดชอบเอง และเป็นการแบ่งเบาการตัดสินใจของคุณไปด้วย คุณจะได้ไม่หนักจนเกินไปที่ต้องไปตัดสินใจ และรับผิดชอบไปทุกเรื่อง
2. คัดเลือก และจ้างพนักงานเก่งๆ เข้ามาร่วมงาน
จงให้ความสำคัญในการคัดเลือกบุคลากรที่จะมาทำงานกับคุณ รวมถึงให้ความสำคัญกับพนักงานที่มีความสามารถ มีผลงานดี เพราะอะไรน่ะหรือครับ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า พนักงานที่มีคุณภาพจะมีการตัดสินใจที่ดี มีการทำงานที่ดี มีความรับผิดชอบสูง เมื่อพนักงานมีคุณภาพ คุณก็จะเกิดความมั่นใจ ปล่อยให้เขาทำงานได้อย่างสบายใจ การใช้กฎข้อบังคับมากจนเกิดไป หยุมหยิมมากเกินไปมาปกครองพนักงานที่ทำงานดี มีคุณภาพเหล่านี้ จะทำให้พนักงานที่มีค่าเหล่านี้ไม่อยากทำงานด้วย และต้องสูญเสียคนดีความสามารถไป ปัญหานี้หล่ะครับ ที่ทำให้องค์กรต้องเสียบุุคลากรที่มีคุณภาพอันเก่งกาจ ไปอยู่กับคู่แข่งทางธุรกิจเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นในข้อนี้ขอแนะนำว่าของให้ ลงทุนในการจ้างพนักงานที่มีคุณภาพสูง มีความรับผิดชอบอย่างสูง และต้องมีการการจูงใจด้วยการให้รางวัลแก่พนักงานที่มีผลงานดีเด่น และให้กำจัดพนักงานไม่ค่อยมีผลงาน ไม่มีการพัฒนาตนเองออกไป เมื่อทำเช่นนี้ก็จะเหลือแต่พนักงานที่ทำงานอย่างมีคุณภาพ มีความรับผิดชอบสูง ทำให้คุณไม่ต้องมีบทบาทเข้าไปควบคุม สร้างกฎหรือมีส่วนร่วมงานในความรับผิดชอบขอพนักงานแต่ล่ะคนมากนัก
โปรดจดจำไว้น่ะครับว่า พนักงานต้องการความไว้วางใจจากคุณในฐานะผู้นำ เมื่อใดที่คุณเข้าไปมีบทบาทมากเกินไปในการทำงานของพวกเขา เมื่อนั้นแหล่ะครับพนักงานที่มีคุณภาพเหล่านี้จะแปลการตั้งกฎ การควบคุมของคุณว่า เพราะคุณไม่ไว้วางใจพวกเขา ทำให้เขาอึดอัดจนทำให้งานออกมาไม่ดี เพราะไม่ได้ตัดสินใจเอง ถูกควบคุมเสียทุกอย่าง เมื่อเป็นเช่นนี้พนักงานคนไหนจะอยู่กับคุณล่ะครับ จริงไหม