“ขนาดฉันยังแก้ไขไม่ได้เลย. แล้วลูกน้องฉันจะแก้ได้เหรอ” คุณเคยคิดดูถูกลูกน้องแบบนี้หรือไม่? เอาความจริงน่ะครับ ทุกคนที่เป็นหัวหน้างานเคยคิดแบบนี้หมดครับ ผมก็เคยคิดเหมือนกัน. อาจจะด้วยความรำคาญ หรือด้วยอารมณ์อะไรก็แล้วแต่ แต่ผมกำลังจะบอกคุณว่า คุณกำลังดูถูก และประเมินลูกน้องคุณในฐานะผู้บังคับบัญชาต่ำจนเกินไป ผมเตือนไว้ก่อนน่ะครับ คุณไม่สามารถแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้ด้วยตัวเองได้ไม่ว่าคุณจะตำแหน่งฐานะหน้าที่การงานสูงส่งแค่ไหน ไม่มีทางเลยที่คุณจะเก่งทุกเรื่อง แก้ไขปัญหาได้ทุกเรื่อง คุณต้องฝึก คุณต้องสร้างลูกน้องของคุณเพื่อให้เขาเป็นผู้นำในอนาคต เพื่อให้สามารถแทนคุณได้ เพื่อให้คุณสบายใจขึ้นเพราะมีลูกน้องที่สามารถแก้ไขปัญหาให้คุณได้. และการที่จะสร้างลูกน้อง ส่งเสริมลูกน้องให้แทนคุณได้ คุณต้องให้เขาฝึกแก้ไขปัญหาเท่านั้น โดยเฉพาะปัญหายากๆ ที่ท้าทาย
เพราะอะไรน่ะหรือครับ. เพราะว่าการปล่อยให้ลูกน้องของคุณได้แก้ไขปัญหายากๆ บ้าง เป็นการฝึกให้ลูกน้องของคุณใช้ความคิด. และหัวหน้างานเมื่อลูกน้องแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ได้ ต้องคอยมาถามคุณอยู่ตลอดเวลา ก็ตำหนิลูกน้องว่า “แค่นี้ก็คิดแก้ไขไม่ได้หรือไง”. ซึ่งบอกไว้เลยน่ะครับว่าคุณกำลังด่าตัวเองอยู่. ปัญหาทุกอย่างที่ลูกน้องคิดแก้ไขปัญหาไม่เป็น คิดแก้ไขไม่ได้เพราะว่า คุณไม่ได้ฝึกให้เขาแก้ไขปัญหาต่างๆ เลย บอกแต่ว่า หากมีปัญหาอะไรให้มาบอกฉันน่ะ. ซึ่งก็ถูกแล้วไงที่ลูกน้องของคุณจะคอยมาถามคุณอยู่ตลอดเวลา. แล้วคุณก็ไปตำหนิเขาอีกว่า เขาคิดไม่เป็น….มันถูกต้องแล้วหรือครับ
ข้อดีอีกประการหนึ่งของการให้ลูกน้องของคุณฝึกแก้ไขปัญหายากๆ ก็คือ เป็นการสร้างให้ลูกน้อง กล้าเผชิญปัญหา ไม่หลีกหนีปัญหา กล้าเผชิญอุปสรรคต่างๆ. สร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในจิตใจของเขาเอง. แรกๆ เมื่อคุณส่งปัญหาที่ยากให้ลูกน้องแก้ไขปัญหา เขาอาจจะบ่นบ้าง แน่นอนครับ การที่ลูกน้องทำสิ่งต่างๆ จนเคยชิน แล้วอยู่ๆ คุณก็ให้เขามาฝึกแก้ไขปัญหา จะเป็นการสร้างความเปลี่ยนแปลง ซึ่งมนุษย์ 100 ทั้ง 100 ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว. แต่เมื่อใดที่เขาสามารถแก้ไขปัญหายากๆ ได้ เขาจะเข้าใจคุณ ซึ่งใจกับคุณ และศรัทธาคุณมากขึ้น เพราะเป็นการสร้างเขาเพื่อให้เป็นผู้นำแทนคุณในอนาคต เขาจะเข้าใจเองครับ เพราะคนที่ได้รับผลดี ก็คือ ตัวเขาเอง
ที้งนี้ทั้งนั้น การฝึกให้ลูกน้องแก้ไขปัญหายากๆ เพื่อสร้างทักษะการแก้ไขปัญหาจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากคุณไม่เปิดใจให้ลูกน้องของคุณแก้ไขปัญหา คุณต้องมั่นใจในตัวลูกน้อง และเชื่อมั่นในสติปัญญาของลูกน้องจากใจจริงของคุณ. และต้องบังคับตัวเอง ที่จะให้คำปรึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาให้น้อยที่สุด แรกๆ คุณจะรู้สึกขัดใจบ้าง แต่เชื่อเถอะครับ มันคุ้มค่าแน่ๆ หากคุณได้ลองทำดู.
ปัญหาทุกอย่าง สามารถแก้ไขได้. คุณในฐานะผู้นำ ต้องรู้ไว้อย่างหนึ่งว่า. “สมอง และสติปัญหาของมนุษย์นั้น สูงส่ง อำนาจไร้ขีดจำกัด” ขึ้นอยู่กับว่า จะมีโอกาสแค่ไหนที่จะได้ใช้สมอง. ความไร้ขีดจำกัดของสติปัญญาจะไม่ได้ใช้ หรือไม่สามารถแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ได้เลย หากไม่ฝึกฝน และมีโอกาสใช้มันครับ. และสติปัญญา ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวของลูกน้องของคุณ ใครล่ะจะเป็นผู้เปิดโอกาสให้ได้ใช้. ถ้าไม่ใช่คุณในฐานะผู้นำ ของเขาเอง
ลองให้ลูกน้องของคุณได้มีโอกาสในการแก้ไขปัญหาที่ยากๆ ที่ท้าทาย และขอเน้นอีกอย่างหนึ่งน่ะครับ. หากปัญหายากที่คุณได้มอบหมายให้ลูกน้องคุณได้ทำแล้ว เกิดความผิดพลาด. อย่าตำหนิหรือว่าเขาอย่างรุนแรง จนไม่ให้โอกาสเขาอีก ความล้มเหลว ที่แหละครับ เป็นสิ่งที่สร้างทักษะ สร้างสติปัญญาในการแก้ไขปัญหาให้กับลูกน้องของคุณได้เป็นอย่างดี. แต่หากการแก้ไขปัญหามีความผิดพลาด หรือล้มบ่อยครั้ง จากปัญหาเดิมๆ นั่นก็ให้คุณในฐานะผู้นำพิจารณาอีกทีว่าเขาควรได้โอกาสอีกไหม ซึ่งเขาอาจจะไม่เหมาะในการแก้ไขปัญหายากๆ คุณก็อาจจะจัดสรร หน้าที่ ตำแหน่งงานให้เหมาะกับเขาอีกทีครับ
ตอนนี้ให้คุณลองมาคิดดูน่ะครับว่า คุณได้เปิดใจ เปิดโอกาสให้ลูกน้องของคุณมีโอกาสแก้ไขปัญหายากๆ หรือยัง หากยังลองเปิดใจ ให้ลูกน้องคุณทำดู อย่าดูถูกความสามารถของเขาน่ะครับ. มันคุ้มค่าแน่นอนหากคุณได้ลอง >>>