เครียดจังเลย น่าจะเป็นคำพูดที่คุณน่าจะบอกตัวเองบ่อยที่สุด และยิ่งหากคุณทำงานด้วยแล้ว ความเครียดย่อมเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คน ถึงคุณจะอารมณ์ดี คิดในแง่บวกแค่ไหนก็ตาม มักจะมีปัญหาในที่ทำงานเข้ามากวนใจคุณ จนทำให้คุณคิดมาก จนเกิดเป็นความเครียด
ความเครียด ไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นในสถานที่ทำงานเท่านั้น แต่สามารถเกิดได้ทุกๆที่ ทุกๆเวลา เมื่อใดก็ตามที่ปัญหามาเยือนตัวคุณเอง หรือแม้กระทั่งคนรอบๆ ข้างคุณ ความเครียดก็จะเหมือนมารร้าย ที่จะมาฉกฉวยความสุขของคุณไปอย่างรวดเร็ว
ยิ่งหากคุณอยู่ในตำแหน่งที่สูงในองค์กรแล้ว ความเครียดก็จะตามมามากตามตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงขึ้น ยิ่งหากคุณควบคุมอารมณ์ที่เกิดจากความเครียดไม่ได้ และแสดงออกมาด้วยท่าทาง คำพูดต่างๆ ที่ไม่ดีด้วยแล้ว จะยิ่งทำให้ภาวะผู้นำของคุณตกต่ำลงไป จนอาจจะทำให้ลูกน้องของคุณไม่น่าเชื่อถือ และไม่เชื่อมั่นในตัวคุณในที่สุด
แต่ไม่ต้องห่วงครับ ผมมีแนวคิด ที่ใช้เตือนสติ และสามารถบรรเทาความเครียดที่เกิดจากปัญหาต่างๆ ในหน้าที่การงานของคุณได้ ซึ่งผมได้นำมาลองใช้กับตนเองแล้ว ได้ผลเป็นอย่างมาก ผมจึงได้ทำแนววิธีคิดนี้ มาลงเป็นบทความเพื่อที่จะเป็นประโยชน์กับ คนทำงาน ที่ต้องยุ่งเกี่ยวกับความเครียด อันเนื่องมาจากปัญหาต่างๆ ในที่ทำงาน ทั้งโดยตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจ
แนวคิดที่ 1 : แยกให้ออกว่า ปัญหา หรือสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ควบคุมได้ หรือควบคุมไม่ได้
เมื่อใดที่เกิดปัญหาในที่ทำงาน หรือที่ไหนก็ตาม ทั้งระดับที่ต่ำ จนถึงระดับที่สูงขึ้น ให้คุณคิดก่อนเลยเป็นอันดับแรกว่า ” ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เป็นที่สิ่งที่เราควบคุมได้หรือไม่ “ ประโยคคำถามนี้ เป็นการย้ำถามจิต สมอง สติ ว่าปัญหานั้น หากเกิดขึ้น คุณสามารถควบคุมได้หรือไม่ เช่นคุณเป็นตัวแทนของบริษัท ด้านการเงิน ในการไปติดต่อธนาคารเพื่อขออนุมัติสินเชื่อ เพื่อนำมาใช้ก่อสร้างโรงงานของบริษัท และเสนอเอกสารต่างๆ ควบเรียบร้อย และอนุมัติการปล่อยกู้แล้ว แต่ปรากฎว่า เกิดวิกฤตเศรษฐกิจอย่างฉับพลัน ฟองสบู่แตก ธนาคารระงับการปล่อยกู้เพื่อนำมปัญหาเศรษฐกิจดังกล่าว เป็นปัญหาที่คุณควบคุมไม่ได้นี่ครับ มันไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของคุณ คุณคิดมากไป เครียดไปก็เท่านั้น ธนาคารก็ไม่ปล่อยกู้ให้คุณอยู่ดี เพราะธนาคารก็แย่เหมือนกัน ดังนั้นคุณต้องเตือนสติว่า ” ปัญหาดังกล่าวไม่สามารถควบคุมได้” และให้คุณลองหาวิธีการอืื่นในการหาแหล่งเงินกู้อื่น จะเป็นประโยชน์มากกว่าที่คุณจะมาคิดมาก คิดมากได้ เครียดได้ครับ แต่อย่าให้นานนัก
แต่หากปัญหาที่เกิดขึ้นวิเคราะห์ดูแล้ว สามารถที่จะควบคุม ดำเนินการแก้ไขได้ คุณก็แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ปัญหา แก้ไขปัญหา และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นเสียซิครับ อย่าเอาแต่โทษตัวเอง ตบตีตัวเองนานนักครับ เพราะมันเสียเวลา เอาเวลามาแก้ไขปัญหาดีกว่าครับ ดีกว่ากันเยอะ เพราะเมื่อคุณเครียดกับปัญหา สักพักเมื่อความเครียดของคุณหายไป คุณต้องกลับไปแก้ไขปัญหานั้นอยู่ดีครับ จริงไหม
แนวคิดที่ 2 : ให้คุณเข้าใจกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่ว่า “ได้อย่างเสียอย่าง”
แนวคิดนี้ให้คุณคิดว่า ” ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่คุณทำแล้ว โดยไม่เสียอีกอย่างไป ” ได้อย่างก็ต้องเสียอีกอย่างครับ หากคุณจะทำแล้วได้ดีทั้ง 2 อย่างมันเป็นไปไม่ได้ครับ นี่เป็นหลักของธรรมชาติ เป็นหลักของโลก ยกตัวอย่างเช่น เมื่อหัวหน้าคุณใช้คุณทำงานของเขา ในขณะที่คุณกำลังทำงานประจำของคุณอยู่ ซึ่งงานที่หัวหน้าให้คุณทำ ณ ตอนนั้น เป็นงานสำคัญมากๆ ต่อยอดขายบริษัท แน่นอนคุณก็ต้องหันมาทำงานของหัวหน้าของคุณก่อน เพราะสำคัญกว่า คุณไม่สามารถที่จะทำงานของหัวหน้าของคุณ ไปพร้อมๆ กับงานประจำที่คุณกำลังทำอยู่ได้ หากคุณถูกตำหนิเรื่องงานประจำ คุณก็สามารถแจ้งหัวหน้าคุณได้ว่า คุณให้ความสำคัญกับงานที่เขามอบหมายให้คุณ เพราะเป็นงานที่สำคัญที่สุด อย่าพยายาม ทำพร้อมกันทั้ง 2 งานครับ เพราะจะเสียหายทั้ง 2 งาน คนทำงานส่วนมาก จะทำงานอย่างนี้แหละครับ ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็ํจเลยสักอย่างเดียว
ฉะนั้น ต่อไปนี้หากใครก็ตามไม่ว่าจะเป็น หัวหน้าของคุณ เพื่อนของคุณ หรือใครก็ตามมาขอความช่วยเหลือจากคุณในการทำงาน ให้คุณบอกเขาไปก่อนเลยครับว่า ” จะเป็นไปได้ไหมครับว่า ให้ผมทำงานในส่วนที่ผมทำงานอยู่ ณ ตอนนี้ให้เสร็จก่อน แล้วผมจะทำงานของคุณ “ เป็นประโยคที่ปฏิเสธแบบอ้อมๆ โดยสุภาพ และเป็นการเตือนสติ ของ ผู้มาขอให้คุณช่วยเหลือว่า เขามาขอความช่อยเหลือในขณะที่คุณทำงานของคุณอยู่ หากคุณไปทำงานตามคำเรียบร้องของเขา เขาต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาด ความล่าช้า ของงานที่คุณกำลังทำอยู่ เขาจะรู้เองครับ เชื่อผม ผมใช้มาแล้ว
ฉะนั้นผมจึงจะบอกว่า คุณควรจะฝึกปฏิเสธงาน ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคุณครับ คุณไม่ต้องกลัวเขาโกรธครับ เพราะหากคุณตอบ Yes ไปหมดทุกเรื่อง คนที่ได้รับผลกระทบก็คือคุณ งานของคุณก็เสียหาย ผมไม่ได้จะสอนคุณ เป็นคนเห็นแก่ตัวครับ และกำลังจะสอนคุณให้เน้นทำงาน งานที่สำคัญกับชีวิตของคุณจริงๆ ไม่ใช่ตอบสนอง Demand ของคนอื่นๆ ไปหมดจนลืมไปว่า คุณยังมีงานรออยู่อีกเพียบ
ลองนำไปใช้ดูครับ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในองค์กรที่มีความกดดันสูง ผมว่าแนวคิดนี้มันช่วยได้ เพราะผมใช้แล้วมัน Work ครับ