ปลุกพลังบุคลิกภาพและการพูด

คุณต้องใส่อารมณ์เข้าไปกับการพูดของคุณ หากอยากให้คนฟังคุณ

Rating:

จากบทที่แล้ว ที่ผมได้เกริ่นไปบ้างแล้วว่า สาเหตุที่การพูดของคุณไม่น่าดึงดูดใจนั้น มันเกิดจากตัวคุณเองล้วนๆ คุณต้องหาสาเหตุที่เกิดขึ้นให้จงได้  และส่วนมากแล้วเกือบ 95% ที่ทำให้การพูดน่าเบื่อ และไม่มีคนฟังคุณ หรือไม่สนใจคุณพูดนั้นเกิดจากการที่การพูดของคุณนั้น ” มันไร้ซึ่งอารมณ์สิ้นดี “

ผมไม่ได้กล่าวเกินไปครับ มันเป็นปัญหาโลกแตกของผู้พูดในที่สาธารณะอย่างแท้จริง  คุณลองคิดดูสิครับว่า หากมีคนพูดให้คุณฟังแบบเป็น Mono Tone หรือเสียงจังหวะเดียวตลอดเวลา เหมือนกับการอ่านให้คุณฟังนั้น คุณในฐานะผู้ฟัง จะทรมานขนาดไหน ง่วงขนาดไหน และคุณเคยฟังนักพูดที่มีท่าทางเร้าอารมณ์ด้านเสียงพูดอันไหนคุณคิดว่าวัน Work กว่ากัน แน่นอนคุณต้องเลือกแบบหลังอย่างแน่นอน  และมีข่าวดีคุณสามารถเป็นนักพูดที่ยอดเยี่ยมได้ ด้วยการประสานอารมณ์เข้าไปในทุกๆ คำพูดของคุณ และมันฝึกได้ไม่ได้ยากเย็นเลยแต่ประการใด

การพูดแบบใส่อารมณ์

        การฝึกใส่อารมณ์เข้ากับการพูดคุณสามารถฝึกได้ดังนี้ ข้อแนะนำคุณต้องทำอย่างต่อเนื่อง หากคุณทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ การพูดแบบประสานอารมณ์คุณจะพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ

     1. ในชีวิตประจำวัน เมื่อการพูดนั้นอยู่ในอารมณ์ให้คุณ ประสานอารมณ์แบบนั้น

เมื่อมีเพื่อนๆ ของคุณมีการสูญเสียญาติมิตร ให้คุณพูดโดยใช้อารมณ์เศร้า เช่นพูดให้ช้าลง พร้อมทั้งแสดงออกทางสีหน้าของคุณด้วย  และหากมีเรื่องน่ายินดีเกิดขึ้นก็ให้คุณใช้น้ำเสียงเร็ว ร่าเริง พร้อมกับใบหน้าที่ยิ้มแย้ม  นอกจากนี้ประโยคที่คุณพูดก็ต้องประสานอารมณ์เข้าไปด้วยเช่น  หากคุณพูดถึงคำว่า “สดใส” คุณก็ต้องยิ้มแย้ม และพูดเสียงที่ดัง แจ่มชัด ตาเบิกโพลง เพื่อให้เข้ากับความหมายของคำว่า “สดใส” เป็นต้น คุณฝึกเป็นประจำทุกวัน กันทำเช่นนี้นอกจากคุณจะฝึกการประสานอารมณ์เข้ากับการพูดของคุณแล้ว  คุณยังจะได้ความสัมพันธ์มากมาย เพราะการพูดแบบประสานอารมณ์อย่างเหมาะสมนั้น   ถือเป็นมารยาททางสังคมแบบหนึ่ง

                2. ฝึกอ่านหนังสือแบบออกเสียง

เลือกหนังสือเล่มโปรดของคุณ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือนิยาย วิชาการ หรืออะไรก็ได้ครับ ฝึกอ่านออกเสียงให้ชัดเจน ฝึกโดยเมื่อหากถึงข้อความสำคัญที่เห็นหัวใจในแต่ละหน้า  ก็ให้คุณพูดแบบเน้นเสียงดังๆ เช่น ” การตลาดเป็นกิจกรรมที่ทุกๆ บริษัทต้องทำ ”  คุณอาจจะเน้นเสียงที่คำว่า ทุกๆ บริษัทต้องทำ…. เป็นต้น การทำเช่นนี้นอกจากจะเป็นการฝึกอ่านแบบประสานอารมณ์แล้วยังเป็นการช่วยให้คุณจำหัวใจเนื้อหาหนังสือแต่ละหน้าได้แม่นยำขึ้น  การอ่านออกเสียง แบบประสานอารมณ์จะเป็นการส่งเสริมความจำเพิ่มขึ้น 20% เลยที่เดียวครับ

 

เป็นอย่างไรบ้างครับวิธีการฝึกอ่านออกเสียงแบบใส่อารมณ์  คุณแค่ปรับกิจกรรมในชีวิตประจำให้เป็นการฝึก เพราะการฝึกแบบนี้จะเป็นการฝึกที่เป็นธรรมชาติที่สุดแล้ว เพราะเป็นการฝึกแบบธรรมชาติ ซึ่งคุณจะสามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่า  เท่านี้คุณก็รู้แล้วใช้ไหมครับว่า การฝึกพูดแบบประสานกับอารมณ์นั้นมันเป็นเรื่องง่ายๆ แค่นี้เองครับ

 

ธวัชชัย สุวรรณสาร

ที่ปรึกษาและโค้ชด้านการปลุกศักยภาพบุคคล

081-1689081

Tags: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*