ปลุกพลังแห่งผู้นำ

คุณต้องรู้จักขอโทษ รู้จักผิดหากต้องการมีจิตใจเป็นผู้นำ

คุณเคยได้ยินประโยคต่อไปนี้ไหมครับ

” กฎข้อแรกเจ้านายไม่ผิด “
” หากเจ้านายผิดให้กับไปดูข้อ 1 ใหม่ “

  รับประกันได้เลยครับว่าทุกคนที่่ใช้ชีวิตในการทำงานต้องเคยได้ยินประโยคเช่นนี้ ซึ่งเป็นความคิดที่เป็นประโยคและความเชื่อ เต่าล้านปี

     สังคมแห่งการทำงานย่อมประกอบไปด้วยคำว่าเจ้านาย และลูกน้อง โดยได้รับการปลูกฝังมาว่าต้องทำตามที่ผู้นำบอก และหากเจ้านายหรือผู้นำทำผิดก็ให้ถือว่าไม่ผิด อย่าไปชี้แจงเรื่องความผิดของเจ้านายเพราะมันไม่มีประโยชน์ ทำงานของตนเองต่อไปเรื่อยๆ ดีกว่า

     แต่ในคำว่า ” ภาวะผู้นำ ” ประโยคดังกล่าวถือว่าเป็นความเชื่อที่ผิดอย่างร้ายแรง ผู้นำที่มีความเชื่อแบบนี้สืบต่อกันมาเป็นผู้นำที่ยึดถือในตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นสำคัญ เขาไม่มีทางเป็นผู้นำที่ครองใจผู้ใต้บังคับบัญชาหรือทีมงานได้


     สังคมแห่งผู้ำนำทุกวันนี้ หากผู้นำกระทำผิด ที่กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ การที่จะได้ยินคำว่าขอโทษจากผู้นำจะยากมาก ยิ่งกว่าได้ยินถ้อยคำใดๆ เนื่องจากมีหัวโขนอันหนักอึ้งสวมไว้นั่นคือตำแหน่ง การที่ผู้นำพูดคำว่า “ขอโทษ” นั้นถือเป็นการเสียเกียรติ เสื่อยมเกียรติอย่างร้ายแรง แต่ไม่ใช่เสื่อมกับตนเองเป็นการเสื่อมกับตำแหน่งที่เขาสวมอยู่นั่นเอง

    จงปรับเปลี่ยนตัวเองสู่ความมี “ภาวะผู้นำ” ที่ครองใจทีมงาน และลูกน้องของตนด้วยคำว่า “ขอโทษ” เมื่อคุณในฐานะผู้นำกระทำผิด ความผิดที่ผู้นำกระทำเช่น  การพูดจาที่ไม่เหมาะสมกับลูกน้อง  การให้นโยบายผิดพลาดเนื่องมาจากการสื่อสารของตนเอง   ความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการบริหารงานของตนจนกระทบต่อการทำงานโดยรวมของทีมงานเป็นต้น 

     การที่ผู้นำรู้จักผิด และกล่าวคำขอโทษ จะเรียกใจจากทีมงานของตนได้ ทีมงานและลูกน้องจะมองคุณในแง่มุมหนึ่ง และศรัทธาคุณมากขึ้น เชื่อเถอะครับยุค ที่เจ้านายถูกต้องเสมอได้หมดลงไปหมดแล้ว หากยังยึดถือในความเชื่อนั่นอยู่  คุณไม่มีทางได้ใจ และมีบารมีในใจลูกน้อง สุดท้ายคุณในฐานะผู้นำ ก็จะแพ้ภัยตนเอง และอยู่อย่างโดดเดี่ยวอย่างแน่นอน

     ลองถามความรู้สึกของคุณดูและเปรียบเทียบกันระหว่าง ผู้นำของคุณที่ไม่ยอมรับความผิดของตนเอง และไม่พูดคำว่าขอโทษ  กับผู้นำที่รู้จักพิจารณาตนเอง รู้ถึงความผิดของตนเอง และกล่าวคำของโทษ  คุณจะรู้สึกดีกับผู้นำแบบใด  คำตอบอยู่ในจิตใจคุณแล้ว คุณไม่ต้องเฉลย คำตอบมีอยู่แล้ว

     ผู้นำที่รู้จักผิด และกล่าวคำขอโทษ ไม่ใช่จะรู้จักพิจารณาความผิดของตนเอง และขอโทษทีมงานเท่านั้นทั้งนี้รวมถึงหากลูกน้องหรือทีมงานทำความผิดที่ส่งผลต่อการทำงานต่อแผนกอื่นๆ ผู้นำที่รับผิดชอบต่อทีมงานและลูกน้องคนนั้น ต้องรู้จักออกรับ และกล่าวคำขอโทษแทนทีมงานของตนด้วย ซึ่งหากทีมงานที่กระทำผิดได้เห็นถึงการขอโทษของผู้นำของตน ที่่ขอโทษ และรับผิดแทนตน ทีมงานจะรู้สึกผิด และศรัทธาในผู้นำของตน จนไม่กล้าที่จะกระทำการเช่นนั้นอีกต่อไป 

     ฉะนั้น สิ่งที่คุณควรฝึกตั้งแต่วันนี้คือ 1. รับผิดชอบต่อความผิดของตนเองอย่างจริงใจ และกล่าวคำขอโทษต่อทีมงาน  2. หากทีมงานของคุณที่คุณดูแลอยู่ทำความคิดที่กระทบต่อ แผนกงานอื่น สายงานอื่น คุณต้องรับผิด และขอโทษแผนกอื่นๆ นั้นแทนทีมงาน เพราะมันเป็นความรับผิดชอบของคุณ

     ผมว่ามันคงไม่ยากเกินไปสำหรับคุณ หากคุณอยากมี “ภาวะผู้นำ” ที่แท้จริง และชนะใจทีมงานอย่างยั่งยืน

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*