KPI = Key Performance Indicator ตัวชี้วัดมาตรฐานการทำงาน เป็นสิ่งที่ทุกๆ องค์กร ใช้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติของพนักงานแต่ละคน มานานมาก เป็นตัววัดประสิทธิภาพการทำงาน เป็นชีวิตของพนักงานทุกๆคนที่ทำงาน เพราะการปรับเงินเดือน การตัดสินใจว่าพนักงานคนนั้นจะอยู่หรือจะไป การประเมินผลโบนัส ล้วนขึ้นอยู่กับ KPI เป็นหลัก ซึ่งมันก็คือการประเมินผลแบบหุ่นยนต์ดีๆ นี่เอง โดยในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัล เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ คุณแน่ใจหรือว่า การนำ KPI เข้ามาชี้เป็นชี้ตายบุคคล เป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้วหรือ ?
ผมไม่เถียงว่า การใช้การวัดผลพนักงานด้วย KPI เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความชัดเจนของหน้าที่ และผลลัพธ์ การปฏิบัติงานของแต่ละคน “คุณต้องทำงานเอกสารให้ได้ 10 ชิ้นต่อเดือนน่ะ” “คุณต้องส่งงานให้ทันเวลาตามKPI คือ 7 วันไม่ใช่หรือ ” หุ่นยนต์ชัดๆ เลยครับแบบนี้ แล้วคุณแน่ใจหรือ ถามผู้ปฏิบัติหรือยังว่า งานที่คุณจัดเวลากำหนด KPI ให้กับพนักงานนั้น จะเสร็จตามเวลาที่กำหนด เมื่อกำหนด KPI ให้พนักงาน พนักงานก็จะมุ่งทำงานให้ได้ตาม KPI หรือสูงกว่า KPI แล้วกลับบ้านก็เท่านั้นใช่ไหม แล้วคุณยังจะเอา KPI มากำหนดวัดผลการทำงานของบุคคล ในขณะที่ปัจจุบัน มีเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการทำงานมากมาย มีอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการทำงาน มีคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดก้าวหน้ามากขึ้น ผลลัพธ์ของงานก็จะมากขึ้น ตามยุคสมัย เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป
คนแต่ละคน พนักงานแต่ละคน มีจุดแข็ง จุดเด่นที่ต่างกัน การกำหนด KPI ไม่ใช่เป็นการสร้าง หรือเสริมจุดแข็งของพนักงาน แต่เป็นการลด และกดจุดแข็งศักยภาพของพนักงานลง เมื่อพนักงานแสดงศักยภาพให้เห็น ผู้บังคับบัญชาก็จะมองว่าไม่ใช่เป็น KPI จึงไม่ได้สนใจ และให้พนักงานทำตาม KPI ต่อไป มันเป็นธรรมแล้วหรือ
ในหลายๆ ประเทศได้มีการยกเลิกการใช้ KPI ในการวัดผลพนักงานแล้ว โดยนำรูปแบบของการเน้นการดึงจุดแข็ง หรือที่เรียกว่า ” Strength Base ” มาใช้ในการทำงาน ส่วนมากประเทศที่ไม่ใช่ KPI ในการวัดผลล้วนแต่เป็นประเทศที่เจริญแล้ว ในทรัพยากรบุคคล เช่นภาคพื้นยุโรป ในขณะที่องค์กรในประเทศที่กำลังพัฒนายังคงใช้ KPI แบบหุ่นยนต์วัดผลการทำงานพนักงานแต่ละคนอยู่
และเป็นที่น่าดีใจ ของประเทศไทยเรา ที่่บริษัท DTAC (ดีแทค) ได้มีการยกเลิก KPI เพื่อใช้วัดผลการปฏิบัติงานของพนักงาน และหันมาใช้ “Strength Base” ดึงจุดแข็งของพนักงาแต่ละคนออกมา เพื่อให้พนักงานมาใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อการก้าวเข้าสู่องค์กร ดิจิทัล อันดับ 1 ของประเทศไทย ( เป้าหมายเขาชัดเจนมาก แล้วองค์กรคุณชัดเจนแบบนี้หรือยัง )
เหตุที่ ดีแทค ยกเลิกการใช้ KPI เข้ามามีบทบาทต่อการประเมินผลพนักงาน เนื่องจากให้ความสำคัญต่อพนักงานเป็นหลัก เนื่องความพึงพอใจของพนักงานในองค์กร มีความสุขกับการวัดผลด้วย KPI เพียงแค่ 14% เท่านั้น ที่เหลืออีก 86% ไม่ชอบการวัดผลด้วย KPI เอาเสียเลย และหากคุณนำแบบทดสอบไปวัดความพึงพอใจในการประเมินผลด้วย KPI ผมคิดว่าผลคงไม่ต่างจากนี้เท่าไหร่นัก
คิดดูสิครับ เมื่อมีผลแห่งความสุขในการวัดผลด้วย KPI ออกมาเช่นนี้ องค์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร จะโตได้ไหม ศักยภาพของพนักงานจะพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างไร พนักงานก็แค่ทำงานแต่ละวันตาม KPI และก็กลับบ้านก็เท่านั้น ไม่เกิดอะไรให้องค์กรพัฒนาเลย โดยเฉพาะศักยภาพของบุคคลที่จะ กดอยู่เพียงแค่นั้น
เหตุที่ ดีแทคเลิกใช้ KPI ในการวัดผล เนื่่องด้วย การวัดผลแบบเก่าเป็นการวัดผลเชิงอุตสาหกรรม เชิงปริมาณ ต้องทำได้เท่านั้นชิ้นน่ะ ต้องได้เท่านั้นชิ้นน่ะ ซึ่งไม่สอดคล้องกับโลก และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องด้วย Dtac ตั้งเป้าเป็นองค์กรดิจิทัลอันดับ 1 ของประเทศ ต้องการความคิดสร้างสรรค์เข้ามามีบทบาทในการทำงาน เพื่อให้เข้ากับยุคใหม่ การใช้ KPI จะเป็นตัวกดความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจากต้องทำตามมาตรฐานที่เก่าด้านปริมาณ จึงไม่เหมาะสมสำหรับการทำงานของบุคลากรในปัจจุบัน
ดีแทค จึงให้ความสำคัญในการวัดผลจากจุดแข็งของพนักงาน แต่ละคน และนำจุดแข็งของพนักงานแต่ละคนนั้นมา พัฒนาองค์กร โดยมีการวัดผลจุดแข็งโดยใช้ OKR ( Objectives and Key Results ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานรู้ว่าจุดแข็ง ตนเองคืออะไร และวัดผลจากจุดแข็งนั้น การทำเช่นนี้จะทำให้พนักงานทำงานอย่างมีคุณค่า ภูมิใจในจุดแข็งตนเอง และทำงานอย่างมีความสุขในคุณค่าที่ตนเองมี
โดยการวัดผลโดยการใชัจุดแข็งนั้น จะไม่มี Rating หรือผลการวัดเป็นตัวเลขเฉพาะเจาะจง แต่จะเป็นในรูปของ Impact หรือผลกระทบต่อองค์กรเป็นหลัก ว่าพนักงานสามารถพัฒนา และให้อะไรกับองค์กรได้บ้างโดยใช้จุดแข็งของตน
เป็นอย่างไรบ้างครับ การใช้จุดแข็งเข้ามาแทน การวัดผลด้วย KPI เป็นสิ่งที่หลายองค์กร ในหลายประเทศที่พัฒนาแล้วใช้กันแล้ว แล้วองค์กรของคุณพร้อมที่จะนำจุดแข็งของพนักงานแต่ละคนเป็นตัวชี้วัด เพื่อให้พนักงานทำงานอย่างเต็มศักยภาพ ทำงานอย่างมีความสุข เกิดความภูมิใจในจุดแข็งและการทำงานของตนเองหรือยัง อย่าลืมน่ะครับคนไม่ใช่หุ้นยนต์ ที่คุณจะใช้ให้เดินไปทางนั้น ทางนี้ ได้ เรากำลัจะพูดถึงสิ่งมีชิวิตที่เรียกว่า คน ซึ่งไม่ใช่เครื่องจักร ฉะนั้นการใช้จุดแข็งของคนที่ไม่เหมือนกันนั้น มาเป็นประโยชน์กับองค์กรจะดีกว่าไหมในยุคสมัยที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเช่นนี้