การสร้างความสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า หรือคนที่คุณเพิ่งจะรู้จัก ทักกันครั้งแรก หรืออาจจะเรียกว่า เป็นความประทับใจแรกพบก็ไม่ผิดครับ ความประทับใจแรกพบนั้นอาจจะประกอบไปด้วย การแต่งกาย การแต่งหน้า การยืนที่ดูสง่า การพูดทักทายอันแสนไพเราะ ล้วนแต่เป็นความประทับใจแรกพบหรือที่เรียกว่า First Impression ทั้งนั้น
แต่คุณรู้ไหมว่า การที่มี เสื้อผ้า หน้า ผมที่ดีนั้นไม่เพียงพอที่จะสร้างความประทับใจแรกพบอย่างยั่งยืน เคยเจอไหมครับว่า การที่มีบุคลิกภาพที่ดี เสื้อผ้าที่ดี ท่วงท่าการยืน เดินที่ดี ก็ไม่สามารถสร้างความประทับใจ กับคนที่เพิ่งรู้จักได้อย่างเต็มร้อย ซ้ำเกือบจะ 80% เมื่อประทับใจครั้งแรก ก็จะเป็นการพบกันครั้งสุดท้าย โดยไม่ได้สร้างความประทับใจอย่างยั่งยืนเลย เรื่องนี้มีคำตอบครับ
คำตอบก็คือ ” คุณสร้างความประทับใจแค่เพียงภายนอกเท่านั้น แต่ยังไม่ได้สร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นภายกับคู่สนทนาเลย”
แล้วจะทำอย่างไรล่ะ? ไม่ต้องห่วงครับวันนี้ผมจะนำหลักทางจิตวิทยามาบอกให้คุณได้ทราบว่าทำอย่างไร เป็นจิตวิทยาที่ง่ายมากๆ เลยครับในการสร้างความประทับใจแรกพบกับอีกฝ่ายหนึ่ง นอกจาก เสื้อผ้า หน้า ผมแล้ว สิ่งที่ผมจะบอกนี้จะช่วยเติมเต็มความประทับใจภายนอก แบบที่อีกฝ่ายไม่รู้ลืมเลยทีเดียว แถมอาจจะผูกสัมพันธ์เป็นความสนิทสนมกันในอนาคตด้วย
หลักการทางจิตวิทยานี้เรียกว่า ” 3 พลังพลักดันทางจิตวิทยา ” ในการสร้างความสัมพันธ์
3 พลังพลักดันทางจิตวิทยา ประกอบไปด้วย 1. การสะท้อนภาพ Miroring 2. การคุมจังหวะ Pacing 3. การตอกย้ำ Backtrack ซึ่งหากคุณฝึกเป็นประจำแล้ว จะเป็นสิ่งที่คุณจะทำเป็นธรรมชาติ และคุณจะสามารถผูกสัมพันธ์กับผู้คนได้มากมาย ถึงแม้คุณจะพูดไม่เก่งเลยก็ตามครับ
1. การสะท้อนภาพ ( Miroring )
เริ่มต้นด้วยพฤติกรรม ที่จะเป็นการสะท้อนภาพซึ่งกันและกัน ระหว่างคุณกับคู่สนทนา ยกตัวอย่างเช่น หากคุณเห็นเขาประสานมือระหว่างสนทนาคุณก็ประสานด้วย หากเขากอดอกคุณก็ทำด้วย หากเขาเกาศรีษะบ้าง คุณก็เกาด้วย ซึ่งพฤติกรรมการสะท้อนภาพนี้ ถูกสอนกันในสถานบันด้านความสัมพันธ์ระดับโลกหลายๆ ที่เป็นการแสดงให้เห็นว่าคุณเป็นพวกเดียวกับเขา จะเกิดการซึมซับความสัมพันธ์ เกิดความรู้สึกดีโดยไม่รู้ตัว แต่ข้อระวังคือ อย่างสะท้อนภาพด้วยการเลียนแบบบ่อยเกินไป จนดูเกินเลย หากทำทุกท่าทางเหมือนคู่สนทนาหมด จะดูเป็นการกวน….. เขาซ่ะมากกว่าระวัง ความสัมพันธ์ จะกลายเป็นความบาดหมาง
2. การคุมจังหวะ ( Pacing )
ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับ ว่าเป็นจังหวะ ให้คุณปรับความรวดเร็วของการแสดงพฤติกรรม ให้ใกล้เคียง หรือเร็วเท่ากับคู่สนทนาที่คุณจะต้องการสร้างความสัมพันธ์ด้วย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ความเร็วในการพูด การคุณเป็นคนพูดเร็ว ก็ให้ปรับความเร็วให้เท่ากับคู่สนทนา คุมจังหวะการพูดให้ดี เมื่อคุณฝึกไปเรื่อยๆ คุณจะรู้จักปรับตัว ปรับความเร็วให้เข้าจังหวะการพูดของอีกฝ่ายหนึ่งโดยอัตโนมัติ ความจริงคุณไม่จำเป็นต้องพูดเร็วๆ ก็ได้น่ะ เพราะการพูดเร็วๆ ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพูดช้ากว่าคุณ จะเป็นการแสดงพฤติกรรมว่า คุณต้องการที่จะพูดๆ ให้มันจบไป อีกฝ่ายจะมองว่า คุณจะรีบพูดไปไหน อยากจะจบการสนทนาเร็วๆ ใช่ไหม เห็นไหมครับอีกฝ่ายจะตีความหมายเป็นอีกฝ่ายหนึ่งเลย ฉะนั้นฝึกควบคุมจังหวะให้เข้ากับคู่สนทนา จะสร้างความประทับใจกับอีกฝ่ายได้ดีกว่าครับ
3. การตอกย้ำ ( Backtrack )
เป็นการย้ำคำพูดของอีกฝ่าย เป็นจิตวิทยาที่แสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่า เราเห็นด้วยกับความคิด และคำพูดของเขา ยกตัวอย่างเช่น คู่สนทนาพูดกับคุณว่า “อากาศดีน่ะครับ” คุณก็พูดตอบไปว่า ” อืม…อากาศดีน่ะครับ” แค่นี้ก็สร้างความประท้ับใจได้แล้วครับ การตอกย้ำ เป็นการแสดงถึงความเอาใจใส่ และตั้งใจฟังของคุณ กับคู่สนทนา เป็นการแสดงให้เห็นว่า อีกฝ่ายสำคัญกับอีกคนหนึ่ง จำไว้น่ะครับว่า คนต้องการให้คนมาสนใจตนเอง ต้องการได้รับการยอมรับ แต่ข้อควรระวังก็คือ ไม่ควรตอกย้ำ บ่อยเกินไป จนเขารู้สึกว่าไม่ใช่ธรรมชาติของคุณ ควรใช้แต่พอดี อย่ามากเกินไปน่ะครับ ผมเตือนไว้ก่อน
ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร มาจากไหน ฐานะเป็นอย่างไร ถึงแม้คุณจะเป็นคนพูดไม่เก่ง คุณสามารถนำเอา 3 พลังผลักดันทางจิตวิทยาง่ายๆ นี้ไปใช้ แล้วคุณจะเห็นผลอันมหัศจรรย์ของ หลักนี้ครับ