การพัฒนาตนเอง

รู้ไหม ทำไม คุณจึงแก้นิสัยผลัดวันประกันพรุ่งไม่ได้สักที ทั้งที่คุณอยากทำ

Rating:

นิสัย “ผลัดวันประกันพรุ่ง” ( Procrastination ) เป็นนิสัยด้านลบที่เกิดกับคนทุกคน โดยเฉพาะในวัยทำงาน เป็นสิ่งที่ขัดขวางความก้าวหน้าของมนุษย์งานทุกๆ วัน คุณเคยไหมครับว่า อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ทั้งๆ ที่งานที่ตั้งใจจะทำนั้นจะส่งผลดีต่อเรา ต่อความก้าวหน้าในงาน  ต่อความก้าวหน้าเพื่อทำให้ชีวิตดีขึ้น แต่เราก็ไม่ได้ทำมัน และผลัดการทำไปเรื่อยๆ นั่นแหละครับ เรากำลังโดน พลังด้านลบ ของการ “ผลัดวันประกันพรุ่ง” เข้าให้แล้ว

 

 และที่น่ากลัวกว่านั้น มนุษย์ทุกคน สามารถที่จะโดนนิสัย ผลัดวันประกันพรุ่ง ได้แทบทุกคน การแก้ไขนิสัยนี้นั้นคุณอาจจะคิดว่า “ก็ขยันให้มากขึ้น กระตือรือร้น ให้มากขึ้นสิ ก็แก้ไขนิสัยนี้ได้แล้ว ”  ถามตัวคุณเองเถอะครับ ว่าคุณสามารถทำการแก้ไขนิสัย ได้อย่างต่อเนื่องทุกวันหรือไม่  หากคุณไม่รู้จักเบื้องลึกของนิสัยนี้ จ้างให้คุณก็แก้ไขนิสัยนี้อย่างถาวรไม่ได้  รวมถึงตัวผมเองด้วย ที่ถูกเจ้านิสัย ผลัดวันประกันพรุ่งนี้ เล่นงานอยู่บ่อยๆ ครับ

ที่ผมเขียนบทความนี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะบอกวิธี หรือ กระตุ้นแก้ไขนิสัย ผลัดวันประกันพรุ่งนี้ ได้อย่างถาวร เพียงแค่หวังว่าวิธีที่ผมให้ไปนี้ จะสามารถลดนิสัย ผลัดวันประกันพรุ่ง ให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งผมได้ลองใช้แล้ว และได้ผลดี จึงนำมาแบ่งปันให้คุณทั้งหลาย ได้ลองนำไปใช้ดู  โดยผมแนะนำ 2 วิธีดังต่อไปนี้ครับ

 

 1. คิดจะทำอะไรได้  ก็ให้ทำไปก่อนเลย  ไม่ต้องเสียเวลาเรียงลำดับความสำคัญให้มากความ

นี่เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดนิสัย ผลัดวันประกันพรุ่ง ครับ  ก็คุณมัวแต่เสียเวลาคิดว่า ควรทำดีไหม ทำแล้วจะดีขึ้นไหม จะสำคัญกว่างานนี้ไหมหนอ  โอ้ย…… ไม่ต้องคิดให้มากความครับ  ให้คุณลงมือทำไปก่อนเลย แล้วคุณค่อยมาเรียงลำดับความสำคัญดีหลัง  เพราะถึงอย่างไรคุณไม่ตอนนี้ หรือต่อไป คุณก็ต้องทำงานนี้อยู่ดี

เพราะอะไรนั่นหรือครับ  ผมจะบอกความลับของสมองให้  สมองเราเมื่อเราคิดถึงข้อแม้ หรือคิดจะทำสิ่งใดๆ มากจนเกินไป  สมองจะเลือกหนทางที่สบายที่สุด  ผมจะบอกให้ว่าที่จริงสมองของเรา ขี้เกียจ น่ะครับ สมองก็ต้องการความสบาย และกลัวลำบากเหมือนกัน  มันเป็นกลไกของสมอง  ฉะนั้นให้คุณลงมือทำไปเลย ไม่ต้องมีข้อแม้อะไรทั้งนั้น  เมื่อคุณได้เริ่มลงมือทำแล้ว สมองจะสับโหมดเข้าสู่กระบวนการต่อเนื่องทันที เพราะสมองก็เหมือนสวิทซ์ไฟนั่นแหละครับ  หากมีการสับสวิทซ์อย่างฉับพลันด้วยการลงมือทำแล้วล่ะก็  จะเกิดปฏิกิริยา ทำงอย่างต่อเนื่องไปจนจบ  ก็เหมือนกับสับสวิทซ์เพื่อเปิดไฟนั่นแหละครับ  เมื่อเปิดสวิทซ์ไฟฟ้าก็เปิด จนกว่าเราจะไปปิดมัน สมองของเราก็เช่นเดียวกันครับ

   2. ทิ้งความสะดวกสบายไปซ่ะ

เคยสังเกตุไหมครับ เอาเวลาที่คุณดูทีวี ก็แล้วกัน  ในขณะที่คุณดูทีวี หรือหนังโปรดของคุณ คุณแทบจะไม่ลุกไปไหนเลย ทัั้งๆ ที่คุณก็รู้อยู่แล้วว่า คุณมีงานสำคัญรออยู่ แต่คุณก็ให้ข้อแม้ว่า ” เดี๋ยวดูทีวีผ่อนคลายอารมณ์ให้สบายก่อนแล้วค่อยทำงานต่อก็ได้ ”   ซึ่งเมื่อคุณดูทีวีแล้ว ก็ไม่ได้ทำงานต่อไปสักที เผลออีกทีก็เกินเวลา จนไม่ได้ทำงานสำคัญ และนึกเจ็บใจว่า รู้งี้ไม่น่าดูทีวีเลย  เพราะทีวีนั่นแหละคือต้นเหตุ  ว่าไปนั่น

ที่จริง ทีวี หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไม่ใช่ต้นเหตุของการผลัดงานของคุณเลย  ตัวคุณเอง นั่นแหละที่เป็นคนเลือกเองที่จะดูทีวี  ยิ่งในปัจจุบันนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอิทธิพลกับคนปัจจุบันมากที่สุดก็คือ พวก โทรศัพท์ Smart phone ทั้งหลาย ที่สามารถดูหนัง ฟังเพลง หรือทำอะไรได้สารพัดในเครื่องเดียว ยิ่งทำให้คนในปัจจุบันนี้ เกิดนิสัย ผลัดวันประกันพรุ่งกันมากกว่าในอดีตมากเลยครับ

ผมจะบอกวิธีแก้ไขให้ วิธีง่ายๆ เลยก็คือ ทิ้งความสะดวกสบายทั้งหลายนั้นไปซ่ะ  เดี๋ยวก่อน ผมไม่ได้หมายความว่าให้คุณทิ้งทีวี และ Smart Phone ลงถังขยะน่ะครับ  เพียงแต่คุณตัดมันไปซ่ะหากคุณจะทำงาน เช่นหากคุณดูทีวีอยู่ ก็แข็งใจหน่อย ลุกไปปิดทีวีซ่ะ   เล่น Smart Phone อยู่ ก็เอา Smart Phone วางไว้อีกห้องหนึ่งซ่ะ แล้วไปทำงานอีกห้องหนึ่ง

คุณไม่ต้องคิดมากอะไรทั้งนั้น ไปปิด  ทิ้ง ความสะดวกสบาย ไปก่อนเลย  ให้ระวังอีกอย่างน่ะครับ ก่อนที่คุณจะทิ้ง สิ่งให้ความสะดวกสบายของคุณนั้น อย่างคิดก่อนว่า ” มีงานรออยู่ ” ” เดี๋ยวสักพักต้องไปทำงานแล้ว”  อย่างเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นคุณจะโดนเจ้า สมอง ตัวดีของคุณสับโหมดเข้าสู่ความสบาย  คิดจะตัด หรือทิ้งอะไร ให้ปิดมัน หรือเคลื่อนย้ายไปไกลๆ ก่อนเลยแล้วค่อยทำงาน จะได้ผลดีกว่า อย่าไปคิดมาก ให้มากความ

 

เป็นอย่างไรบ้างครับ วิธีแก้ไขนิสัย “ผลัดวันประกันพรุ่ง”  วิธีทั้ง 2 นี้ผมได้ลองใช้แล้ว ได้ผลดีมากครับ เป็นวิธีที่นักจิตวิทยาต่างประเทศใช้กัน ผมเผอิญไปอ่านเจอ และได้ลองใช้  ผมอยากให้คุณได้ลองใช้ดู จึงนำมาแบ่งปัน ผมว่าได้ผลน่ะ ไม่มากก็น้อย อย่างน้อยคุณก็ได้เริ่มแล้ว ถูกไหมครับ

Tags: , , , ,

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*