ปลุกพลังแห่งผู้นำ

เมื่อรับตำแหน่งผู้นำ ควรวางตัวอย่างไรดีกับลูกน้อง

Rating:

    คุณเคยคิดไหมว่าหากคุณได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้น เป็นระดับผู้นำ คุณจะมีการวางตัวคุณอย่างไรกับลูกน้องของคุณ หรือกับเพื่อนๆ ของคุณที่ตอนนี้กลับกลายเป็นลูกน้องของคุณ ?

   คุณคงคิดมากใช่ไหม ทำตัวไม่ถูกไม่รู้จะทำอย่างไรดี อยู่ๆ ก็โดนปรับตำแหน่งให้มาเป็นระดับผู้นำ ระดับบริหาร เครียดมากๆ ไม่รู้จะวางตัวอย่างไรดี

New-Leader

 

     ไม่ต้องเครียดเลยครับ วิธีการวางตัวคุณไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรเลย  ทำตัวให้สบาย หายใจลึกๆ คิดว่าเราทำได้ เราทำได้ แค่นั้นเป็นพอ

     เมื่อคุณถูกปรับตำแหน่งขึ้นมาสู่ความเป็นหัวหน้างาน ลูกน้องของคุณจะไม่มีท่าที อะไร ไม่แสดงตำหนิติชมอะไร เขาจะรอดูคุณ รอดู กึ๋น ของคุณว่าจะแน่สักแค่ไหน ลูกน้องของคุณจะเกิดการเปรียบเทียบคุณกับเจ้านายเก่าของเขาทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  ที่สำคัญคุณไม่จำเป็นต้องCopy

     สไตล์การทำงานของหัวหน้าเก่าๆ ที่เขามาก่อนคุณ เป็นตัวของคุณเองนั่นแหละดีที่สุดแล้ว

     ผู้นำบางคนเมื่อปรับตำแหน่งขึ้นมาแล้ว ร้อนวิชา ” ฉันต้องปรับตรงโน่น ปรับตรงนี้ ต้องรีบเอาใจผู้บังคับบัญชาที่ปรับตนขึ้นมา “ นั่นคือคุณกำลังพุ่งลงสู่จุดจบของความเป็นผู้นำ บางคนเมื่อโดนปรับตำแหน่งแล้ว หัวโขนใหญ่ขึ้น ต้องมีการวางอำนาจสักหน่อย ต้องแสดงตนเป็นผู้รู้งาน การทำตนเช่นนี้ไม่ได้เกิดผลดีอะไรต่อตัวเองเลย

     คุณต้องใช้เวลานี้สร้างความนับถือ สร้างความประทับใจให้กเกิดขึ้นกับลูกน้องของคุณ ควรที่จะแสดงตนในการร้องขอความช่วยเหลือ มากกว่าจะมีการออกคำสั่งแบบบ้าอำนาจ ต้องมีการเปิดโอกาสให้ลูกน้องของคุณแสดงความคิดเห็น ควรมีการจัดประชุมเปิดตัวของคุณ สอบถามความคิดเห็น สอบถามงานและขอความร่วมมือจากเขา เป็นการแสดงให้เห็นว่าเขายังสำคัญอยู่ และมีความสำคัญกับคุณ

     การรับฟังปัญหา กระตือรือร้นรับฟังปัญหาของลูกน้องอย่างตั้งใจ จะมีการสร้างความประทับใจ ความสบายใจ ลดความเครียดความวิตกกังวล ของลูกน้องของคุณได้อันนำมาซึ่งความร่วมมือ และศรัทธาอันยิ่งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นกับคุณเองในฐานะผู้นำของเขา

     ที่สำคัญทีสุดคุณในฐานะผู้นำ ต้องรู้จักระมัดระวังคำพูด คำจาของคุณตลอดเวลา ไม่ควรนำเรื่องของอีกคนหนึ่งไปพูดให้อีกคนหนึ่งได้ยิน ได้ทราบ ได้รู้  จงจำไว้ให้ดี คุณเป็นผู้นำแล้ว ปลูกจิตสำนึกของคุณในการรับฟัง มากกว่าการพูด ไม่ใช้นำข้อเสียไปพูดให้อีกหนึ่งได้ยิน ได้ฟัง คุณอาจจะได้ความรู้สึกที่ดี โล่งเพราะคุณได้ระบาย  แต่มันจะส่งผลร้ายแรงมากๆ กับตัวของคุณเอง

     ความคิดที่ว่า ” ฉันจะไม่อ่อนข้อ และใจอ่อนเกินไปเพราะจะทำให้ลูกน้องเหลิงและได้ใจ ” ” คุณไปทำอย่างที่ผมบอกดีที่สุดแล้ว อย่างเถียงคุณมีหน้าที่ทำตามก็พอ”  หรือ ” เราไม่จำเป็นต้องบอกให้ลูกน้องรู้หรอก เขามีหน้าที่ทำตามที่เราสั่ง ”   คิดดูสิครับหากผู้นำมีความคิดเช่นนี้ใครที่ไหน ลูกน้องคนไหนจะมีกำลังใจทำงาน  คนที่มีความคิดเช่นนี้ต้องการให้ลูกน้องของเขาทำตัวเหมือนหุ่นยนต์  เขามีหน้าที่ป้อนโปรแกรม คำสั่งเข้าไปเพื่อให้ทำตามที่ตั้งโปรแกรมไว้   แบบนี้ทีมงานของคุณจะมีการพัฒนาในงานได้อย่างไร  ลูกน้องของคุณจะทำงานอย่างมีความสุขหรือ หากเจอเจ้านายแบบนี้?

     ผมขอแนะนำไว้น่ะครับว่า หากคุณต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นนโยบาย การทำงาน การแก้ไขปัญหาเรื่องงานอะไรก็ตาม ควรเน้นในการเข้าประชุม โดยพยายามใช้คำถามว่า ” ทุกคนมีความเห็นอย่างไร มีแนวคิดอย่างไรในการแก้ไขปัญหานี้ครับ ” แนวทางนี้จะเป็นประโยชน์มาก เพราะเป็นการเปิดทางให้พนักงานได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น และหาข้อสรุปร่วมกัน ลูกน้องของคุณจะรู้สึกว่าตนมีความสำคัญ เป็นส่วนหนึ่งของทีมงานในการแก้ไขปัญหา ลูกน้องจะเปิดใจคุยกับคุณ กล้าเสนอแนวคิด อันจะนำมาซึ่งความอบอุ่นระหว่างคุณในฐานะผู้นำ และลูกน้อง..

     ความเขร่งขรึม  วางอำนาจ ไม่ช่วยทำให้ภาวะผู้นำฉายแสงอันบรรเจิดออกมา มันยิ่งจะทำให้ภาพลักษณ์ผู้นำของคุณแย่ลงกว่าเดิมเสียอีก…..มาเปลี่ยนความคิดความเป็นผู้นำสู่มิตรไมตรี และมอบไมตรีจิตรให้แก่ลูกน้องของคุณดีกว่าครับ

 

ธวัชชัย สุวรรณสาร

วิทยากร และที่ปรึกษาด้านการปลุกศักยภาพบุคคล

086-6593823

Tags: , , , , , ,

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*